การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและเกณฑ์ปกติของแบบวัดความสามารถ ในการปรับตัวทางอาชีพ (Career Adapt-Abilities Scale) ฉบับภาษาไทย ของนักศึกษาปริญญาตรี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล1
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ตรวจสอบคุณภาพแบบวัดความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพฉบับภาษาไทย และ (2) สร้างเกณฑ์ปกติของนักศึกษาปริญญาตรี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3 และ 4 ระหว่างปีการศึกษา 2559 – 2560 จำนวน 1,190 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบวัดความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพฉบับภาษาไทย (CAAS-Thailand) ที่แปลมาจากแบบวัดต้นฉบับภาษาอังกฤษ (Savickas&Porfeli, 2012) แบบวัดนี้ประกอบด้วยแบบวัดย่อย 4 ส่วนได้แก่ การตระหนัก การควบคุมตน ความสนใจใคร่รู้ และความมั่นใจ ทั้งนี้แบบวัดย่อยแต่ละส่วนจะประกอบด้วยข้อคำถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 6 ข้อ แบบวัดฉบับนี้จะถูกทดสอบความเที่ยงตรงโดยค่าความเชื่อมั่นแบบสอบคู่ขนานกับแบบวัดต้นฉบับ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช การวิเคราะห์องค์กระกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยน ส่วนการสร้างเกณฑ์ปกติผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ลำดับเปอร์เซนไทด์ Z-score และ T-score ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่าความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของแบบวัดความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพฉบับภาษาไทย (CAAS-Thailand) ได้รับการยืนยันและมีเกณฑ์ปกติแบบคะแนนลำดับเปอร์เซ็นไทล์ (Percentile rank) คะแนนซี (Z-score norms) และ คะแนนที (T-scorenorms) โดยพิสัยของคะแนนที่เป็นไปได้อยู่ระหว่าง 1 ถึง 5 ทั้งคะแนนรวมและคะแนนรายองค์ประกอบ คำสำคัญ : ความสามารถในการปรับตัวทางอาชีพ อาชีพศึกษา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันนักศึกษา ระดับปริญญาตรีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง เกณฑ์ปกติ ABSTRACT The purposes of this study are (1) to examine the psychometric properties of a Career Adapt-Abilities Scale Thai version (CAAS-Thailand), and (2) to establish norms of career adaptabilities for undergraduate students in Bangkok Metropolitan Region. The sample consisted1, 190 3rd and 4th year undergraduate students from private and public universities during 2016 and 2017 academic years who were seleded by stratified random sampling. The major instrument is the Career Adapt-Abilities Scale Thai version (CAAS-Thailand) that was translated from Career Adapt-Abilities Scale (Savickas & Porfeli, 2012). It consisted of 4 subscales, each with six 5-level rating scale items, measured Concern, Control, Curiosity, and Confidence. It was examined its psychometric properties by Parallel test reliability with the original version, Cronbach’s alpha coefficient, Confirmatory factor analysis, and Invariance analysis. And the norms of career adaptabilities were established by Percentile rank, z-score, and T-score. The results of this research were (1) the validity and reliability of Career Adapt-Abilities Scale had been tested. (2) percentile rank, Z-score norms, and T-score norms were available for Career Adapt-Abilities Scale. The possible score range on the instrument was 1 to 5 for overall and each sub-scale. Keywords : Career Adaptability; Career Education; Confirmatory Factor Analysis; Undergraduate Students;
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
อัสสพันธุ์ ส., & โสภณหิรัญรักษ์ เ. (2018). การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและเกณฑ์ปกติของแบบวัดความสามารถ ในการปรับตัวทางอาชีพ (Career Adapt-Abilities Scale) ฉบับภาษาไทย ของนักศึกษาปริญญาตรี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล1. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/11713
Section
บทความวิจัย (Research Articles)