การใช้กลวิธีการอนุมานคำศัพท์ของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่มีระดับความสามารถทางภาษาต่างกันในการอ่านบทความเชิงวิชาการ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการอนุมานคำศัพท์ เกณฑ์การเลือกใช้กลวิธีการอนุมานคำศัพท์ และผลการอนุมานคำศัพท์ของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่มีระดับความสามารถทางภาษาสูง กลาง และต่ำในการอ่านบทความเชิงวิชาการประเภทบรรยายและแสดงความคิดเห็น ผู้เข้าร่วมวิจัยคือนิสิตชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ สาขาธุรกิจและอาชีวศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 9 คนเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลมี 3 ชิ้น ได้แก่ วิธีการบอกกระบวนความคิด การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และเอกสารแบบฝึกหัดการอ่าน โดยข้อมูลที่ได้จากวิธีการบอกกระบวนความคิดและการสัมภาษณ์จะถูกวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และคะแนนที่ได้จากเอกสารแบบฝึกหัดการอ่านถูกวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจับพบว่าผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่มีระดับความสามารถทางภาษาต่างกันใช้แหล่งความรู้และกลวิธีต่างกันในการอนุมานคำศัพท์ที่ไม่รู้ในบทความเชิงวิชาการประเภทบรรยายและแสดงความคิดเห็นและผู้เรียนได้พิจารณาเกณฑ์ 10 เกณฑ์ก่อนใช้แหล่งความรู้และกลวิธีการอนุมานคำศัพท์ ได้แก่ ความเชื่อของผู้เรียน ประสบการณ์การฝึกใช้กลวิธีการอนุมานคำศัพท์ ความคุ้นเคยกับคำศัพท์ ความรู้ทางด้านระบบหน่วยคำ ความมั่นใจในผลการอนุมานคำศัพท์ รูปแบบของคำศัพท์ที่อนุมาน บริบทที่ไม่เพียงพอต่อการอนุมานศัพท์ เวลา ความเข้าใจบริบทของผู้เรียน และรูปแบบการใช้กลวิธีการอนุมานคำศัพท์ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีระดับความสามารถทางภาษาสูงอนุมานคำศัพท์ได้ถูกต้องกว่าผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีระดับความสามารถทางภาษาต่ำกว่า และผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมดอนุมานคำศัพท์ในบทความเชิงวิชาการประเภทบรรยายได้ถูกต้องกว่าบทความเชิงวิชาการประเภทแสดงความคิดเห็น คำสำคัญ : ผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่มีระดับความสามารถทางภาษาต่างกัน, กลวิธีการอนุมานคำศัพท์, บทความเชิงวิชาการ ABSTRACT This study attempted to explore the lexical inferencing strategies, the selection criteria, and the inferencing results produced by high, mid, and low-proficiency EFL learners when reading descriptive and argumentative academic texts. The research participants consisted of nine junior students majoring in Business Education, Faculty of Education, Chulalongkorn University. To collect the data, three main instruments including think aloud protocols, semi structured interviews, and reading worksheets were used. The data obtained from the think aloud protocols and the interviews were analyzed using content analysis, and the reading worksheet scores were analyzed using descriptive statistics including mean, percentage, and standard deviation (SD). The findings showed that EFL learners with different language proficiency employed knowledge sources and strategies differently when inferring the meaning of unknown words in descriptive and argumentative texts, and they considered ten criteria before using the knowledge sources and strategies including learners’ beliefs, strategy training experience, word familiarity, morphological knowledge, confidence in lexical inferencing results, inferred word forms, insufficient context clues, time, learners’ understanding of context, and patterns of lexical inferencing strategy use. It was also discovered that the high-proficiency participants outperformed those with lower language proficiency, and all of them performed better when inferring the vocabulary meaning in descriptive texts than in argumentative texts. Keywords : Different proficiency EFL learners, Lexical inferencing strategies, Academic texts
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
บุญปริตร ช., & ชิโนกุล ส. (2018). การใช้กลวิธีการอนุมานคำศัพท์ของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่มีระดับความสามารถทางภาษาต่างกันในการอ่านบทความเชิงวิชาการ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/11709
Section
บทความวิจัย (Research Articles)