วัฒนธรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทย

Main Article Content

ชาตรี ฝ่ายคำตา

Abstract

บทคัดย่อ วัฒนธรรมการเรียนรู้เป็นข้อมูลที่จะนำมาสู่การพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของครูให้ดีขึ้น การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์และปัจจัยทางวัฒนธรรมในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามได้แก่ แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน (What Is Happening In this Class, WIHIC) และแบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับบรรยากาศวัฒนธรรมการเรียนรู้ (Cultural Learning Environment Questionnaire, CLEQ) ตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านและมีความเที่ยงจากค่า Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.91และ 0.92 ตามลำดับ กลุ่มที่ศึกษาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 6 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4 จำนวนทั้งหมด 810 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และ one-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนไทยชอบกิจกรรมการทำงานร่วมมือและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนในชั้นเรียน ทั้งนี้นักเรียนชายและหญิงรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ นักเรียนชอบที่จะเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับมาก แต่นักเรียนรู้สึกว่าการเรียนรู้ในชั้นเรียนไม่สัมพันธ์กับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไป คำสำคัญ : วัฒนธรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์, ปัจจัยทางวัฒนธรรม, ประเทศไทย ABSTRACT Understanding science classroom cultures results in knowing the way to encourage student learning and teacher teaching. This study aimed to investigate science classroom cultures and cultural factors in Thai science classroom. Research tools were What Is Happening In this Class (WIHIC) and the Cultural Learning Environment Questionnaire (CLEQ). These questionnaires were validated by three panels of experts and their reliability indicated by Cronbach’s alpha coefficient were 0.91 and 0.92, respectively. The samples of this study were 810 Grade-4, 6, 8, and 10 students across the country selected from stratified sampling technique. Data were statically analyzed using t-test and one-way ANOVA. The survey results showed that students liked collaborative activities and had many emotional exchanges in their classrooms. Thai boys and girls perceived their classrooms differently. The students favorably perceived science classrooms. Their perception indicated that learning at school was inconsistent with learning at home increased with their school level. The implication of the study will contribute to science curriculum and pedagogy.Keywords :      Science classroom culture, Cultural factors,Thailand

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ฝ่ายคำตา ช. (2018). วัฒนธรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/10370
Section
บทความวิจัย (Research Articles)