รูปแบบการท่องเที่ยวของอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวไทย
Keywords:
รูปแบบการท่องเที่ยว การเดินทางท่องเที่ยว อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้คือ การสำรวจจำนวนองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ที่มีความสัมพันธ์กัน ด้วยการวิเคราะห์ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เพื่อหาองค์ประกอบเชิงสำรวจของรูปแบบการท่องเที่ยวทั้ง 40 รูปแบบ และใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เพื่อหาความเชื่อมั่นขององค์ประกอบด้านรูปแบบการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น โดยค่าความเชื่อมั่นที่สามารถยอมรับได้ควรมากกว่า 0.6 ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของรูปแบบการท่องเที่ยวสามารถจำแนกรูปแบบการท่องเที่ยวได้ 11 รูปแบบ ซึ่งหลังจากหาค่าความเชื่อมั่นทำให้เหลือรูปแบบการท่องเที่ยว 5 รูปแบบเท่านั้นที่ ค่าความเชื่อมั่นอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้ ประกอบด้วยองค์ประกอบของรูปแบบการท่องเที่ยวดังต่อไปนี้ รูปแบบที่ 1 ชื่อว่ามนต์เสน่ห์ธรรมะ และชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบที่ 2 ชื่อว่าธรรมชาติที่ลงตัวกลางเมืองคนดี รูปแบบที่ 3 ชื่อว่าท่องเที่ยวชุมชนลุ่มน้ำตาปี รูปแบบที่ 4 ชื่อว่าชมหิ่งห้อยคลองร้อยสาย และรูปแบบที่ 5 ชื่อว่าสุขภาพ ความงามที่สร้างได้ สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อนำไปใช้ คือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นสำนักงาน การท่องเที่ยว บริษัททัวร์ หรือองค์กรการท่องเที่ยวในระดับท้องถิ่นควรให้ความสำคัญกับรูปแบบการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นทั้ง 5 รูปแบบ ในการจัดทำรูปแบบของการส่งเสริมทางการตลาดให้กับแต่ละรูปแบบการท่องเที่ยว ในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย และโดดเด่น นำไปสู่การดึงดูดนักท่องเที่ยวให้กลับมาท่องเที่ยวซ้ำมากยิ่งขึ้นDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ