ผลการฝึกอบรมระยะสั้นต่อมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาที่สอนไม่ตรงวุฒิ

Main Article Content

วรวัฒน์ ทิพจ้อย
พัดตาวัน นาใจแก้ว

Abstract

The Effect of Short-Course Training Program on Scientific Concepts of the Primary School Non-Science TeacherWorawat Tipjoi and Pattawan Narjaikaewรับบทความ: 20 ตุลาคม 2556; ยอมรับตีพิมพ์: 18 พฤศจิกายน 2556DOI: https://doi.org/10.14456/jstel.2013.18 บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต และแรงและการเคลื่อนที่ ของครูวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนและหลังได้รับการอบรมระยะสั้น 2 วัน กลุ่มตัวอย่างคือครูวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จำนวน 48 คน ที่เข้าร่วมโครงการโดยการเจาะจงจากเขตพื้นที่ในปีการศึกษา 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ชนิดตัวเลือกสองลำดับขั้น ชนิด 5 ตัวเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เกณฑ์ที่ปรับมาจากงานวิจัยของ Haidar (1997) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าสถิติ Wilcoxon signed rank test ผลการ วิจัยพบว่า หลังการได้รับการฝึกอบรมครูมีมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ในระดับมีมโนมติทางวิทยาศาสตร์แบบสมบูรณ์ (SU ร้อยละ 58.33) เพิ่มขึ้นจากก่อนได้รับการฝึกอบรม (ร้อยละ 37.50) มีระดับมโนมติทางวิทยาศาสตร์บางส่วนหรือมโนมติคลาดเคลื่อนบางส่วน (PU ร้อยละ 25.00) ลดลงจากก่อนได้รับการฝึกอบรม (ร้อยละ 35.40) มีระดับมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่ถูกต้อง (MU ร้อยละ 16.67) ลดลงจากก่อนได้รับการอบรม (ร้อยละ 27.10) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และครูมีมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ หลังการได้รับการฝึกอบรมในระดับมีมโนมติทางวิทยาศาสตร์แบบสม-บูรณ์ (SU ร้อยละ 27.08) เพิ่มขึ้นจากก่อนได้รับการฝึกอบรม (ร้อยละ 8.33) มีระดับมโนมติทางวิทยาศาสตร์บางส่วนหรือมโนมติคลาดเคลื่อนบางส่วน (PU ร้อยละ 41.67) ไม่แตกต่างจากก่อนได้รับการอบรม (ร้อยละ 33.33) มีระดับมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่ถูกต้อง (MU ร้อยละ 58.33 ลดลงจากก่อนได้รับการอบรม (ร้อยละ 31.25) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05คำสำคัญ: ครูวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาที่สอนไม่ตรงวุฒิ การอบรมระยะสั้น มโนมติวิทยาศาสตร์ AbstractThe purposes of this research were to study and compare the conceptual change in the living things and processes of life concept and forces and motion concept of the primary school science teachers before and after participating in 2 days training program. The samples were 48 primary school non-science teachers, UdonThani primary educational Service area office 1, in academic year 2012. The research instruments were the short-course training program and the two-tier multiple-choice diagnostic tests. The scientific concepts were grouping the answers based on criterion adapted from Haidar’s (1997) study. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, and the Wilcoxon signed ranks test. The results of this study indicated that: After training, the teachers’ scientific concepts toward living things and processes of lifein Scientific Understanding (SU 58.33%) was significantly higher than those before (37.50%). The Partial Understanding (PU 25.00%) and Misconceptions (16.67 %) after the training were significantly lower than those before (PU 34.40, MU 27.10%) at the 0.05 level of significance. After training, there was no difference between the teachers’ scientific concepts toward forces and motion in Partial Understanding before (33.33%) and after the training (41.67%). The Scientific Understanding after the training (SU 27.08%) was significantly higher than those before the training (8.33%), and Misconception after the training (31.25%) was significantly lower than those before the training (58.33%) at the 0.05 level of significance.Keywords: Non-science teachers, Short-course training program, Scientific concepts

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

จันทร์จิรา ชุ่มเรืองศรี. (2539). การวิเคราะห์มโนมติที่คลาดเคลื่อนวิชาวิทยาศาสตร์ (ว.102) เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชาตรี ศรีสุข. (2541). ผลการเรียนยืดหยุ่นโดยใช้โปรแกรมการสอนแบบสาธิตกับการอธิบาย.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทวีป บรรจงเปลี่ยน. (2540). การศึกษาการเปรียบเทียบความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกสีเขียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลวิธีการสอนเพื่อเปลี่ยนมโนมติตามทฤษฎีของ Posner และคณะกับการสอนปกติ. วิทยา-นิพนธ์ ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นภาพร แถวโนนงิ้ว. (2537). การวิเคราะห์มโนมติที่คลาดเคลื่อนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกสีเขียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรทิพย์ วงษ์นาป่า. (2548). การพัฒนาบทปฏิบัติการ เรื่อง การสกัดและแยกสารประกอบแซนโทนจากผลมังคุด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนนทบุรี.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (วิทยา-ศาสตร์ศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหา-วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิชา ชัยจันดี. (2552). ความเข้าใจมโนมติทางวิทยา-ศาสตร์ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เมื่อใช้ยุทธ-ศาสตร์การสอนเพื่อปรับเปลี่ยนมโนมติและความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับแรง-จูงใจกับการเปลี่ยนแปลงมโนมติ. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มณีกานต์ หินสอ. (2549). ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายมนุษย์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชา ชีพชั้นสูงเมื่อใช้ยุทธศาสตร์การสอนเพื่อเปลี่ยน มโนมติ.รายงานการศึกษาอิสระ ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหา-วิทยาลัยขอนแก่น.

รวีวัตร์ สิริภูบาล. (2543). การพัฒนาแบบจำลองระบบฝึกอบรมครูเชิงทักษะปฏิบัติ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วราภรณ์ ภูปาทา. (2545). การเปรียบเทียบความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการสร้างความรู้จากพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียนกับการสอนปกติ.วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิชาญ พันธุ์ประเสริฐ. (2551). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูวิทยาศาสตร์เพื่อออกแบบบทปฏิบัติการที่สอดแทรกภูมิปัญญาท้องถิ่น. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (วิทยาศาสตร์ศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริพรรณ ศรีวรรณวงษ์. (2553). ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อใช้ยุทธศาสตร์การสอนเพื่อเปลี่ยนมโนมติ.วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริพรรณ ศรีวรรณวงษ์. (2553). ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อใช้ยุทธศาสตร์การสอนเพื่อเปลี่ยนมโนมติ.วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ และคณะ. (2553). การทฤษฎีจากฐานของความรู้เนื้อหาผนวกวิธีสอนของครูวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาตอนปลายโดยใช้รูปแบบกรณีศึกษาเชิงตีความ. วารสารวิจัย มข. 5(10): 998–1014.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. (2554). คู่มือยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. อุดรธานี : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2539). การปฏิรูปการฝึกหัดครู : ร่วมกันคิดแบ่งกันทำ.กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ. (2549). การสังเคราะห์โมเดลการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการสร้างความรู้ของผู้เรียนตามแนวคอนสตรัคติวิสต์.รายงานการวิจัย.โครงการวิจัยประเภททุนอุดหนุนทั่วไป. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิชาอร ทองธรรมชาติ และคณะ. (2544). กลยุทธ์การฝึกอบรมและวิทยากรในยุคโลกภิวัฒน์. กรุงเทพฯ: ลินคอร์นโปรโมชัน.

เกศริน มนูญผล. (2544). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเพิ่มสมรรถภาพด้านการจัดทำหนังสือเสริมประสบการณ์ที่สอดคล้องกับท้องถิ่น.ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหา-วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศักรินทร์ ชนประชา, 2550). การพัฒนาหลักสูตรฝึก อบรมการศึกษานอกระบบสำหรับครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Goldstein, I.L.. (1993). Training in Organizations: Needs Assessment, Development and Evaluation. 3rd ed. Monterey: Brooks/Cole.

Haidar, A.H. (1997). Prospective chemistry teachers’ conceptions of the conservation of matter and related concepts. Journal of Research in Science Teaching 34(2): 181–197.

Halloun, I., Hake, R., Mosca, E., and Hestenes, D. (1995). Revised Force Concept Inventory. Available http:// asu.edu/modeling.

Most read articles by the same author(s)