ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมต่อความตระหนักและความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคม

Main Article Content

พัดตาวัน นาใจแก้ว
วรวัฒน์ ทิพย์จ้อย

Abstract

The Effect of Science, Technology and Society Approach on Awareness and Knowledge of Science and Technology in Society of the First-year Undergraduates
 
Pattawan Narjaikaew and Worawat TipJoi
 
รับบทความ: 21 มีนาคม 2556; ยอมรับตีพิมพ์: 27 พฤษภาคม 2556
 
 
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความตระหนักและความเข้าใจของนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 54 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลองโดยมีรูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม จำนวน 6 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง รวมระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 18 ชั่วโมง แบบวัดความตระหนักต่อความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคม และแบบวัดความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคม เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความตระหนักและความเข้าใจต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคม โดยใช้การทดสอบทีแบบไม่อิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดวิทยา-ศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมมีความตระหนักต่อความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคมก่อนเรียนและหลังเรียนไม่แตก-ต่างกัน มีความตระหนักต่อความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคมในระดับค่อนข้างดีทั้งก่อนและหลังเรียน และมีความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคมระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน (p < .01)
คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ความตระหนักต่อความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้ความเข้าใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
Abstract
This research aimed to study and compare students’ awareness and knowledge of science and technology in society of the first-year undergraduates before and after using Science Technology and Society Approach (STS). The subjects were 54 first-year Udon Thani University students, sampled by cluster random sampling from students who enrolled in the Science for Quality of Life in second semester of academic year 2012. The research design was quasi-experiment using one-group pretest-posttest. The research tools consisted of 6 STS lesson plan 18 hours for the implementation, the science and technology awareness evaluation form, and the science and technology knowledge test. The statistical analysis of mean comparisons both science and technology awareness and knowledge before and after learning using the STS was t-test for independent samples. The findings showed that there was no difference between mean scores of the students’ science and technology awareness before and after learning with STS approach. In addition, the students’ science and technology awareness before and after using the STS were at the fairly good level. The students’ knowledge of science and technology was different between before and after using STS approach (p < .01)
Keywords: Science, technology and society approach, Science and technology awareness, Science and technology knowledge

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมวิชาการ. (2539). ท้องถิ่นกับการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ฉวีวรรณ แผ่วตะคุ. (2541). การพัฒนาหลักสูตรงานที่เตรียมไปสู่อาชีพชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ในหลักสูตรกลุ่มวิชาการงานและพื้นฐานอาชีพ. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชวนชื่น โชติไธสง (2541). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อปัญหามลพิษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มที่ได้รับการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคม (STS) กับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2544). การเรียนการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม. สงขลานครินทร์ 7: 226-233.

ต่วนริสา ต่วนสุหลง. (2552). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ทนงศักดิ์ ประสบกิติคุณ. (2535). การประเมินค่าความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์การสอน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทิศนา แขมมณี. (2548).รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล ยุตาคม. (2542). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โมเดลการสอนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม (Science Technology and Society – STS Model). ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ 14: 29-48.

บัณฑิต จุฬาศัย. (2528, มิถุนายน-กรกฎาคม). “เยาวชน...ผู้กำหนดสภาวะแวดล้อมในทศวรรษหน้า”. จุลสารสภาวะแวดล้อม 4: ไม่มีเลขหน้า.

ประหยัด โพธิ์ศรี. (2550). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พจมาศ เชื่องช้าง. (2552). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความ คิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนลำหยังวิทยามูลนิธิ จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พันธ์ ทองชุมนุม (2547). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์. (2543). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ภพ เลาหไพบูลย์. (2539). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

สุชา จันทร์เอม และสุรางค์ จันทร์เอม. (2520). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา.

สุภากร พูลสุข. (2547). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการ เรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัย เทคนิคพังงา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานค-รินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

Finley, F., Lawrenz, F., and Heller, P. (1992). A summary of research in science education-1990. Science Education 76: 239-254.

Miller, J. D. and Kimmel, L. (2012). National Science Foundation Surveys of Public Attitudes toward and Understanding of Science and Technology, 1979-2001: [United States] (ICPSR 04029). Retrieved from http://www.icpsr.umich.edu/ icpsrweb/ICPSR/studies/04029, on February 18, 2012.

Solbes, J., and Vilches, A. (1997). STS interactions and the Teaching of Physics and Chemistry. Science Education. 81(4): 337-386.

Tsai, C. C. (1999). The progression toward constructivist epistemological views of science: A case study of the STS instruction of Taiwanese high school female students. International Journal of Science Education 21: 1201-1222.

Wilson, J., and Livingston, S. (1996). Process skills enhancement in the STS classroom. In R. E. Yager (Ed.), Science/Technology/Society as Reform in Science Education (pp. 59-69). NY, USA: State University of New York.

Yager, R. E. (Ed.). (1996). Science/Technology/Society as Reform in Science Education. NY, USA: State University of New York.

Most read articles by the same author(s)