ความร่วมมือของหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ต่อการพัฒนาด้านโครงงานโรงเรียนในเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อย่างยั่งยืน

Main Article Content

สุรศักดิ์ พรพิสุทธิมาศ
สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ
วิเชียร มากตุ่น

Abstract

Cooperation of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning for Sustainable Development of the Science Projects on School Network under the Faculty of Science, Srinakharinwirot University
 
Somkiat Phornphisutthumas, Surasak Laloknam and Wichian Magtoon
 
รับบทความ: 10 กรกฎาคม 2554; ยอมรับตีพิมพ์: 1 กันยายน 2554
 
บทคัดย่อ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้มีการบริการวิชาการสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยเน้นด้านทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เริ่มต้นจากการพัฒนาด้านโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในเบื้องต้น ภายใต้โครงการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โรงเรียนในเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2550–2551 คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดอบรมการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้กับครูและนักเรียนเพื่อให้สามารถทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง จากนั้นดำเนินการติดตามผลอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2552–2554 ร่วมกับคณาจารย์ในหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ โดยจัดเป็นการแข่งขันตอบปัญหาแสดงความสามารถของนักเรียนในเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พบว่า นักเรียนที่ได้รับการอบรมมีศักยภาพด้านโครงงานวิทยาศาสตร์ได้เกินร้อยละ 60 และค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับคุณภาพเหรียญเงิน (มากกว่าร้อยละ 70) นอกจากนี้คณะวิทยาศาสตร์ยังได้ให้สิทธิ์กับทางโรงเรียนในเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในระบบโควต้า ซึ่งได้รับนักเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 ถึงปัจจุบัน รวมมีนิสิตจากโครงการนี้จำนวน 109 คน โดยทุกคนมีผลการเรียนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อแยกเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตและการศึกษาบัณฑิต นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตมีผลการเรียนเฉลี่ยสูงกว่า ดังนั้นโครงการพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โรงเรียนในเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์จึงตอบโจทย์การมีศักยภาพของทางโรงเรียนที่ครูสามารถถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนิสิตที่เรียนอยู่ปัจจุบันมีศักยภาพที่จบการศึกษาด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างมีคุณภาพสูง
คำสำคัญ: โรงเรียนในเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์  หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้  โครงงาน
 
Abstract
Faculty of Science, Srinakharinwirot University has had academic service to community continuously, particularly the development of science and mathematics knowledge emphasizing on their science process skills.  The development of science and mathematics projects has initially started by using the grant from the Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST).  The science and mathematics project development has primarily performed in the school network under Faculty of Science during year 2007 – 2008.  The science and mathematics projects had been trained for teachers and students to actually do the science projects.  The Faculty of Science incorporated with teachers of the Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning has continuously monitored the trained results in year 2009 – 2011.  Both theoretical and practical science quizzes were performed to investigate the science ability of students in the school network.  The results indicated that the trained students’ potential in science projects were more than 60%, and their average scores were in silver medal (more than 70%).  Moreover, Faculty of Science, SWU, gives chances for students to learn in Faculty of Science using the SWU quota system.  From academic year 2008 to present, there are 109 students from this project.  All students have gained learning average scores in the middle level.  Comparing the students between B.Sc. and B.Ed., B.Ed. students have got higher average scores than B.Sc.  Thus, teachers in the school network under the Faculty of Science, SWU, have proficiencies to transfer knowledge to students effectively. The students in our faculty from this project will graduate with high quality of science and mathematics process skills.
Keywords: School network under the Faculty of Science, Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning, Project

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. http://academic.obec.go.th/curriculum44/upload/cur_20081218151842.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551.

กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2554). ข้อมูลผลการเรียนนิสิตคณะวิทยาศาสตร์โควต้าโรงเรียนในเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ฝ่ายกิจการนิสิต คณะวิทยาศาสตร์ มศว. (2554). บทที่สองของการสร้างเครือข่ายผู้ปกครองสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์. เอกสารประกอบโครงการแรกพบนิสิตใหม่และผู้ปกครอง ประจำปีการศึกษา 2554 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มศว. (2551). ระเบียบการรับนิสิตใหม่คณะวิทยาศาสตร์ สอบตรงโควต้าโรงเรียนในเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2551. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มศว. (2552ก). หนังสือโครงการพัฒนาโรงเรียนในเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2552 ระยะที่ 1. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มศว. (2552ข). หนังสือสรุปโครงการพัฒนาโรงเรียนในเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2552 ระยะที่ 4. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มศว. (2552ค). ระเบียบการรับนิสิตใหม่คณะวิทยาศาสตร์ สอบตรงโควต้าโรงเรียนในเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2552. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มศว. (2553). ระเบียบการรับนิสิตใหม่คณะวิทยาศาสตร์ สอบตรงโควต้าโรงเรียนในเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2553. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มศว. (2554). ระเบียบการรับนิสิตใหม่คณะวิทยาศาสตร์ สอบตรงโควต้าโรงเรียนในเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2554. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มศว. (2554). หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาคณิตศาสตร์ ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา 2554. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มศว. (2554). หลักสูตรการ ศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์-เคมี ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา 2554. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มศว. (2554). หลักสูตรการ ศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์-ชีววิทยา ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา 2554. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มศว. (2554). หลักสูตรการ ศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์ ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา 2554. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มศว. (2554). หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ฉบับปรับปรุงปีการศึกษา 2554. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). คู่มือครูสาระการเรียนรู้พื้นฐานชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2551). โครงงานวิทยาศาสตร์: เรียนรู้หรือเลียนแบบ. นิตยสาร สสวท. 36(155): 80–81.

สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2554). เปิดตัว “หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้”. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 1(1): 71–75.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. http://academic.obec.go.th/curriculum44/upload/cur_20081218150852.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551.

Most read articles by the same author(s)

> >>