รูปแบบการทำนิพนธ์ต้นฉบับ

Main Article Content

สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ

Abstract

รูปแบบการทำนิพนธ์ต้นฉบับต้นฉบับบทความเรื่องเต็มทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนบทคัดย่อและส่วนเนื้อเรื่อง ความยาวของบทความรวมไม่เกิน 12 หน้า กระดาษ A4 พิมพ์ด้วยโปรแกรม  Microsoft Word 2003 - 2013 ใช้ตัวอักษร Browallia New สำหรับหัวเรื่องใช้ตัวหนาขนาด 18 พอยต์ และส่วนเนื้อเรื่องตัวปกติขนาด 14 พอยต์ และให้ตั้งค่าหน้ากระดาษ ขอบบน (Top margin) 1 นิ้ว ขอบล่าง (Bottom margin) 1 นิ้ว ขอบซ้าย (Left margin) 1.25 นิ้ว และขอบขวา (Right margin) 1 นิ้ว ระยะห่างระหว่างบรรทัดเป็น double space โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
ส่วนบทคัดย่อ
 
บทคัดย่อประกอบด้วยชื่อเรื่อง (Title) ชื่อคณะผู้วิจัย (Authors) ชื่อสถาบัน และเนื้อหา (Body) พร้อมคำสำคัญ (Keywords)
 
ชื่อเรื่อง ความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด ตัวอักษรแรกของทุกคำ ให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่
 
ชื่อคณะผู้วิจัย ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม หรือคุณวุฒิให้ใส่จุลภาค (comma) หลังนามสกุล ยกเว้นคนสุดท้ายให้ใส่มหัพภาค (full stop) และใส่ดอกจัน (asterisk, *) หลังนามสกุลของผู้นิพนธ์ประสานงาน (corresponding author)
 
ชื่อสถาบันขึ้นบรรทัดใหม่ หากมีมากกว่า 1 สถาบันให้ใช้ตัวเลขยก (superscript) กำกับหน้าชื่อสถาบันและหลังชื่อผู้วิจัยให้ตรงกัน
 
เนื้อหาในบทคัดย่อ ควรครอบคลุมสาระสำคัญของการศึกษา เช่น วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลและอภิปรายผล
 
คำสำคัญ ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ และมีจำนวนไม่เกิน 5 คำ
 
ส่วนเนื้อเรื่อง
 
เนื้อเรื่องประกอบด้วย บทนำ (Introduction) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ผลการวิจัย (Results) อภิปรายผล (Discussion) สรุปผลการทดลอง (Conclusion) กิตติกรรม ประกาศ (Acknowledgement) และเอกสารอ้างอิง (References)
 
บทนำ เป็นส่วนที่อธิบายถึงความสำคัญและมูลเหตุที่นำไปสู่การวิจัย พร้อมวัตถุประสงค์และการสำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการอธิบายวิธีการดำเนินการวิจัยซึ่งขึ้นอยู่กับการวิจัยแต่ละประเภท
 
ผลการวิจัย หรือผลการวิจัยและอภิปรายผล เป็นการเสนอผลการศึกษาตามสิ่งที่ค้นพบ ควรเสนอผลอย่างชัดเจน ตรงประเด็น ตามลำดับหัวข้อที่ศึกษา และอภิปรายผลการศึกษา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่นๆ
 
สรุปผล เป็นการสรุปสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะ
 
กิตติกรรมประกาศ เป็นการระบุแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย หน่วยงาน หรือบุคคลที่ให้การสนับสนุน (ถ้ามี)
 
เอกสารอ้างอิง เป็นการเขียนเอกสารอ้างอิง ให้ยึดถือรูปแบบตามตัวอย่างต่อไปนี้
 
 
หนังสือ
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. สำนักพิมพ์. สถานที่พิมพ์.
 
บทความในวารสาร
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่(ฉบับที่): หน้าแรก - หน้าสุดท้ายของบทความ.
 
วิทยานิพนธ์
ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ชื่อปริญญา บัณฑิตวิทยาลัย. สถาบันการศึกษา.
 
การอ้างอิงแทรกเนื้อหา ให้ใช้ระบบนามและปี เช่น Takabe (2008) รายงานว่า... หรือ (Takabe, 2008) การเขียนเอกสารอ้างอิงในตอนท้ายบทความนั้น หากอ้างจากเล่มภาษาไทย ต้องเขียนทั้งชื่อและนามสกุล ให้เรียงลำดับตามตัวอักษรสำหรับการอ้างอิงโดยให้ภาษาไทยขึ้นก่อนตามด้วยภาษาอังกฤษ
 
แหล่งอ้างอิงจากอินเตอร์เน็ต ให้เขียนอ้างอิงในรูปแบบดังนี้ ใส่ชื่อเว็บไซต์ที่นำมาอ้างอิง เขียนตามด้วยคำว่า “สืบค้นเมื่อวันที่” และใส่วันที่ที่สืบค้น เช่น http://www.thaipost.net สืบค้นเมื่อวันที่ 05/05/53
 
การอ้างอิงในเนื้อหาของแหล่งอ้างอิงจากอินเตอร์เน็ต ให้เขียนคำว่า “อินเตอร์เน็ต” และตามด้วยปี พ.ศ. ที่สืบค้น เช่น อินเทอร์เน็ต (2553) ได้กล่าวถึง ... หรือ ... สามารถนำ ไปใช้ประโยชน์ได้ (อินเทอร์เน็ต, 2553)      
 
ภาพประกอบเป็นนามสกุล jpg หรือ tif และควรมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 x 300 dpi โดยให้คำอธิบายรูปภาพอยู่ใต้ภาพ ให้ใช้ ภาพที่ 1 (ตัวหนา) และคำอธิบายภาพ เช่น ภาพที่ 1 รูปแบบการเจริญเติบโตของไซยาโนแบคทีเรีย
 
ตาราง ให้ใช้ ตาราง 1 (ตัวหนา) อยู่เหนือตาราง เช่น ตาราง 1 สมบัติทางกายภาพของแม่น้ำน่าน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
Phornphisutthimas, S. (2010). รูปแบบการทำนิพนธ์ต้นฉบับ. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning), 1(1), จ-ฉ. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/3607
Section
กองบรรณาธิการ (Editorial Board)

Most read articles by the same author(s)

> >>