รูปแบบการทำนิพนธ์ต้นฉบับ

Main Article Content

สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ

Abstract

รูปแบบการทำนิพนธ์ต้นฉบับต้นฉบับบทความเรื่องเต็มทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนบทคัดย่อและส่วนเนื้อเรื่อง ความยาวของบทความรวมไม่เกิน 12 หน้า กระดาษ A4 พิมพ์ด้วยโปรแกรม  Microsoft Word 2003 - 2013 ใช้ตัวอักษร Browallia New สำหรับหัวเรื่องใช้ตัวหนาขนาด 18 พอยต์ และส่วนเนื้อเรื่องตัวปกติขนาด 14 พอยต์ และให้ตั้งค่าหน้ากระดาษ ขอบบน (Top margin) 1 นิ้ว ขอบล่าง (Bottom margin) 1 นิ้ว ขอบซ้าย (Left margin) 1.25 นิ้ว และขอบขวา (Right margin) 1 นิ้ว ระยะห่างระหว่างบรรทัดเป็น double space โดยมีรายละเอียดดังนี้ส่วนบทคัดย่อบทคัดย่อประกอบด้วยชื่อเรื่อง (Title) ชื่อคณะผู้วิจัย (Authors) ชื่อสถาบัน และเนื้อหา (Body) พร้อมคำสำคัญ (Keywords)ชื่อเรื่อง ความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด ตัวอักษรแรกของทุกคำ ให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ชื่อคณะผู้วิจัย ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม หรือคุณวุฒิให้ใส่จุลภาค (comma) หลังนามสกุล ยกเว้นคนสุดท้ายให้ใส่มหัพภาค (full stop) และใส่ดอกจัน (asterisk, *) หลังนามสกุลของผู้นิพนธ์ประสานงาน (corresponding author)ชื่อสถาบันขึ้นบรรทัดใหม่ หากมีมากกว่า 1 สถาบันให้ใช้ตัวเลขยก (superscript) กำกับหน้าชื่อสถาบันและหลังชื่อผู้วิจัยให้ตรงกันเนื้อหาในบทคัดย่อ ควรครอบคลุมสาระสำคัญของการศึกษา เช่น วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลและอภิปรายผลคำสำคัญ ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ และมีจำนวนไม่เกิน 5 คำส่วนเนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องประกอบด้วย บทนำ (Introduction) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ผลการวิจัย (Results) อภิปรายผล (Discussion) สรุปผลการทดลอง (Conclusion) กิตติกรรม ประกาศ (Acknowledgement) และเอกสารอ้างอิง (References) บทนำ เป็นส่วนที่อธิบายถึงความสำคัญและมูลเหตุที่นำไปสู่การวิจัย พร้อมวัตถุประสงค์และการสำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องวิธีดำเนินการวิจัย เป็นการอธิบายวิธีการดำเนินการวิจัยซึ่งขึ้นอยู่กับการวิจัยแต่ละประเภทผลการวิจัย หรือผลการวิจัยและอภิปรายผล เป็นการเสนอผลการศึกษาตามสิ่งที่ค้นพบ ควรเสนอผลอย่างชัดเจน ตรงประเด็น ตามลำดับหัวข้อที่ศึกษา และอภิปรายผลการศึกษา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่นๆสรุปผล เป็นการสรุปสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะกิตติกรรมประกาศ เป็นการระบุแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย หน่วยงาน หรือบุคคลที่ให้การสนับสนุน (ถ้ามี)เอกสารอ้างอิง เป็นการเขียนเอกสารอ้างอิง ให้ยึดถือรูปแบบตามตัวอย่างต่อไปนี้หนังสือชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. สำนักพิมพ์. สถานที่พิมพ์.บทความในวารสารชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่(ฉบับที่): หน้าแรก - หน้าสุดท้ายของบทความ. วิทยานิพนธ์ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. ชื่อปริญญา บัณฑิตวิทยาลัย. สถาบันการศึกษา.การอ้างอิงแทรกเนื้อหา ให้ใช้ระบบนามและปี เช่น Takabe (2008) รายงานว่า... หรือ (Takabe, 2008) การเขียนเอกสารอ้างอิงในตอนท้ายบทความนั้น หากอ้างจากเล่มภาษาไทย ต้องเขียนทั้งชื่อและนามสกุล ให้เรียงลำดับตามตัวอักษรสำหรับการอ้างอิงโดยให้ภาษาไทยขึ้นก่อนตามด้วยภาษาอังกฤษแหล่งอ้างอิงจากอินเตอร์เน็ต ให้เขียนอ้างอิงในรูปแบบดังนี้ ใส่ชื่อเว็บไซต์ที่นำมาอ้างอิง เขียนตามด้วยคำว่า “สืบค้นเมื่อวันที่” และใส่วันที่ที่สืบค้น เช่นhttp://www.thaipost.net สืบค้นเมื่อวันที่ 05/05/53การอ้างอิงในเนื้อหาของแหล่งอ้างอิงจากอินเตอร์เน็ต ให้เขียนคำว่า “อินเตอร์เน็ต” และตามด้วยปี พ.ศ. ที่สืบค้น เช่น อินเทอร์เน็ต (2553) ได้กล่าวถึง ... หรือ ... สามารถนำ ไปใช้ประโยชน์ได้ (อินเทอร์เน็ต, 2553)       ภาพประกอบเป็นนามสกุล jpg หรือ tif และควรมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 x 300 dpi โดยให้คำอธิบายรูปภาพอยู่ใต้ภาพ ให้ใช้ ภาพที่ 1 (ตัวหนา) และคำอธิบายภาพ เช่น ภาพที่ 1 รูปแบบการเจริญเติบโตของไซยาโนแบคทีเรียตาราง ให้ใช้ ตาราง 1 (ตัวหนา) อยู่เหนือตาราง เช่น ตาราง 1 สมบัติทางกายภาพของแม่น้ำน่าน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
กองบรรณาธิการ (Editorial Board)

Most read articles by the same author(s)

> >>