การพัฒนาชุดกิจกรรมสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ไบโอดีเซล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
Abstract
Piyarat Dornbundit and Jintawee Yosida
รับบทความ:14 เมษายน 2556; ยอมรับตีพิมพ์: 20 พฤษภาคม 2556
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมสืบเสาะหาความรู้เรื่อง “ไบโอดีเซล” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้การสืบเสาะความรู้แบบ 5E ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ ขั้นสร้างความสนใจขั้นสำรวจและค้นหา ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ขั้นขยายความรู้ และขั้นประเมินผลจากการประเมินผลเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน พบว่า ชุดกิจกรรมมีคุณภาพระดับดี ผลการศึกษาในเบื้องต้นพบว่า ชุดกิจกรรมดังกล่าวมีประสิทธิภาพ 85.00/81.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้และเมื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 30 คน พบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง “ไบโอดีเซล”หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (p < .05) และผู้เรียนประเมินผลความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ: กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ไบโอดีเซล ชุดกิจกรรม
Abstract
This research aimed to develop inquiry activity packages on “Biodiesel” for secondary school students by using the 5E inquiry process consisting of engagement, exploration, explanation, elaboration and evaluation steps respectively. The evaluation of tools for learning management in aspect of achievement and students’ preferences towards the activity packages by using three experts was in the good level. The pilot finding showed that the efficacy of the activity packages was 80.00/81.56, higher than the criteria. After using the activity packages with 30 Grade-12 students of Klongkhamwittayakarn School in academic year 2011, the findings indicated that students’ achievement in the topic of Biodiesel learning after using the activity packages was higher than those before using the activity packages (p < .05). The students’ preferences towards the activity packages, moreover, were in the high level.
Keywords: Inquiry process, Biodiesel, Activity packages
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
กรมวิชาการ. (2535). การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: คุุรุุสภา.
กรองกาญจน์ อรุณรัตน์. (2536). กระบวนการเขียนชุดแผนการสอน. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหา-วิทยาลัยเชียงใหม่.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/main2/ plan/p-r-b42-01.htm เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2556.
จีรพร แขวงเพชร. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอนุ-รักษ์ป่าไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (สาขาการมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542). นวัตกรรมการศึกษา. นนทบุรี: เอสอาร์ พริ้นติ้ง.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2553). โมดูล 2 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง. ในหลักสูตรฝึกอบรมครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (หน้า 7-21). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิสณุ ฟองศรี. (2550). การประเมินทางการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เทียมฝ่าการพิมพ์.
เยาวลักษณ์ ชื่นอารมย์. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E. สารนิพนธ์ กศ.ม.(สาขาวิชาการมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รัชนี ทุมวงศ์. (2546). การสร้างชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ตะพาบน้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (หลักสูตรและการสอน). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
รุ่งทิวา จักร์กร. (2527). วิธีการสอนทั่วไป. กรุงเทพฯ: ภาค-วิชาหลักสูตรการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โรงเรียนคลองขามวิทยาคาร. (2550). รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี 2550 (SAR). กาฬสินธุ์.
วรรณทิพา รอดแรงค้า และพิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2532). กิจกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับครู. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ.
วิมลพรรณ ดาวดาษ. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง ข้าวล้มตอซัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบัวสุวรรณประดิษฐ์. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริพร ภูมิพันธุ์. (2547). ผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชนตามกระบวนการ 5E เรื่องซากดึกดำ-บรรพ์ของสิ่งมีชีวิตต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ศึกษาศาสตร์-การสอน). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สกาว แสงอ่อน. (2546). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สับปะรดท้องถิ่นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (วิทยาศาสตรศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2551). การสอนวิทยาศาสตร์โดยเน้นทักษะกระบวนการ. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 8(2): 28-38.
สมศักดิ์ พาหะมาก. (2550). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นจาก http://www.curriculum51.net/ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2556.
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/Default. aspx?tabid=395 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2556.
สุวพร เซ็มเฮ็ง. (2535). การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา. นิตยสาร สสวท 20: 6-11.
Martin, Jr., R. E., Sexton, C., Kay, W., and Gerlovich, J. (1994). Teaching Science for All Science Children. Massachusetts: Allyn and Bacon.
Phornphisutthimas, S., Leepairotkun, K., Koben, J., Laloknam, S., Limchoowong, S., and Poopitayastaporn, K. (2008, October). Learning biomolecules through an online-learning lesson by contructivism at senior secondary and undergraduate levels. The 34th Congress on Science and Technology of Thai-land. Queen Sirikit National Convention Center, Bangkok, Thailand.