การเปรียบเทียบผลการรักษารอยโรคไลเคนแพลนัสในช่องปากและปริมาณเชื้อราแคนดิดาในช่องปากเมื่อรักษาด้วยยาฟลูโอซิโนโลนอะเซทโทไนด์ 0.1% ชนิดขี้ผึ้งทาในปาก และยาเดกซาเมทาโซน 0.05% รูปแบบน้ำยาบ้วนปาก
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษารอยโรคไลเคนแพลนัสในช่องปากระหว่างยาฟลูโอซิโนโลนอะเซทโทไนด์ 0.1% ชนิดขี้ผึ้งทาในปากกับยาเดกซาเมทาโซน 0.05% ในรูปแบบน้ำยาบ้วนปาก ซึ่งผลิตในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รวมทั้งตรวจปริมาณเชื้อราแคนดิดาระหว่างการรักษาด้วยยาทั้งสองชนิดวิธีการศึกษา: ผู้ป่วยไลเคนแพลนัสในช่องปาก 20 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยจากลักษณะทางคลินิกและผลทางจุลพยาธิวิทยา ถูกแบ่งออกอย่างสุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ราย กลุ่มหนึ่งได้รับยาฟลูโอซิโนโลนอะเซทโทไนด์ 0.1% ชนิดขี้ผึ้งทาในปากและอีกกลุ่มหนึ่งได้รับยาเดกซาเมทาโซน 0.05% ในรูปแบบน้ำยาบ้วนปาก เก็บข้อมูลผู้ป่วยโดยวัดขนาดของรอยโรค คะแนนของรอยโรค อาการไม่สบายในช่องปาก (oral discomfort) ด้วยวิช่วลอนาล็อกสเกล (visual analog scale: VAS) และตรวจนับจำนวนโคโลนีของเชื้อราแคนดิดาจากน้ำลายในครั้งแรกที่ผู้ป่วยตกลงเข้าร่วมการศึกษาวิจัย และเมื่อมาติดตามผลการรักษาในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 หลังจากเริ่มการรักษาผลการศึกษา: หลังจากที่ผู้ป่วยใช้ยาจนครบ 4 สัปดาห์ พบว่ายาทั้งสองชนิดสามารถลดขนาดของรอยโรค คะแนนของรอยโรค และอาการไม่สบายในช่องปากของรอยโรคไลเคนแพลนัสได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.888, p = 0.372 และ p = 0.347 ตามลำดับ) และพบว่ากลุ่มที่ได้รับยาเดกซาเมทาโซน 0.05% ในรูปแบบน้ำยาบ้วนปาก มีค่าเฉลี่ยจำนวนโคโลนีของเชื้อราแคนดิดาในน้ำลายสูงขึ้นเมื่อเสร็จสิ้นการศึกษา (p = 0.001) ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาฟลูโอซิโนโลนอะเซทโทไนด์ 0.1% ชนิดขี้ผึ้งทาในปาก มีค่าเฉลี่ยจำนวนโคโลนีของเชื้อราแคนดิดาในน้ำลายไม่แตกต่างกัน (p = 0.083)บทสรุป: ยาทั้งสองชนิดสามารถรักษารอยโรคไลเคนแพลนัสในช่องปากได้ไม่แตกต่างกัน แต่ข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษานี้พบว่ายาเดกซาเมทาโซนมีผลต่อการเพิ่มจำนวนโคโลนีของเชื้อราแคนดิดาในน้ำลาย จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนโคโลนีของเชื้อราแคนดิดาในผู้ป่วยไลเคนแพลนัสในช่องปากที่ได้ยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อเป็นประโยชน์ในการเลือกใช้และพัฒนารูปแบบของยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ในการรักษาผู้ป่วยไลเคนแพลนัสในช่องปากต่อไปคำสำคัญ: ไลเคนแพลนัสในช่องปาก ฟลูโอซิโนโลนอะเซทโทไนด์ เดกซาเมทาโซน เชื้อราแคนดิดา A Comparative Study of Treatment of Oral Lichen Planusand Number of Candida colonies between FluocinoloneAcetonide 0.1% in Oral Paste and Dexamethasone 0.05%MouthwashAbstractObjective: To compare the efficiency of fluocinolone acetonide 0.1% in oral paste (FAO) with dexamethasone 0.05% mouthwash produced in Srinakharinwirot University in the treatment of oral lichen planus (OLP). The number of Candida colonies during the treatments were assessed.Methods: Twenty patients, clinically and histologically diagnosed with OLP, were included in the study. The patients were randomly divided into 2 groups of 10 each and were treated with either FAO or dexamethasone 0.05% mouthwash. Measurement of lesion size, lesion score and oral discomfort by visual analog scale were performed. The number of Candida colonies by salivary culture was recorded at day 0, week 2 and week 4.Results: After 4 weeks of treatment, lesion size, lesion score and pain symptoms were reduced in both groups with no statistical significance (p = 0.888, p = 0.372 and p = 0.347, respectively). The group using dexamethasone 0.05% mouthwash showed an increase in the mean number of Candida colonies in saliva at the end of the study (p = 0.001). While there was no difference in the mean number of Candida colonies in saliva at the end of the study in the group using FAO (p = 0.083).Conclusion: There was no difference in OLP treatment using FAO or dexamethasone 0.05% mouthwash. This preliminary study showed that dexamethasone increased the number of Candida colonies in the saliva. Additional data is needed regarding the effect of topical steroid on the number of Candida colonies in OLP patients. These data may be useful for choosing and developing of topical steroids for the treatment of OLP in the future.Keywords: Oral lichen planus, Fluocinolone acetonide, Dexamethasone, Candidaว.ทันต.มศว ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2563 หน้า 11-28.SWU Dent J. 2020;13(1):11-28.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2020-06-26
How to Cite
1.
วัชโรทยางกูร เ, แต่บรรพกุล ภ, นิ่มกุลรัตน์ ส, ตลึงจิตร ส. การเปรียบเทียบผลการรักษารอยโรคไลเคนแพลนัสในช่องปากและปริมาณเชื้อราแคนดิดาในช่องปากเมื่อรักษาด้วยยาฟลูโอซิโนโลนอะเซทโทไนด์ 0.1% ชนิดขี้ผึ้งทาในปาก และยาเดกซาเมทาโซน 0.05% รูปแบบน้ำยาบ้วนปาก. SWU Dent J. [Internet]. 2020 Jun. 26 [cited 2024 Nov. 5];13(1):11-28. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/12661
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น