โรคมือ เท้า ปาก

Authors

  • ภัทรายุ แต่บรรพกุล ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • เปี่ยมกมล วัชโรทยางกูร ไม่ประสงค์เผยแพร่

Abstract

บทคัดย่อ โรคมือ เท้า ปากเป็นกลุ่มอาการที่พบได้จากการติดเชื้อ­­คอกซากีไวรัส โดยเฉพาะคอกซากีไวรัส เอ16 และ เอนเตอโรไวรัส 71 โดยโรคนี้มักพบในเด็กเล็กและทารกแต่ก็สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน ผู้ป่วยด้วยโรค มือ เท้า ปาก จะมีอาการไข้และพบรอยโรคแผลเล็กๆ หรือปื้นแดง โดยมีลักษณะเฉพาะคือพบทั้งในบริเวณช่องปาก มือและเท้า อย่างไรก็ตามลักษณะรอยโรคที่พบนั้นอาจทำให้วินิจฉัยไปเป็นโรคอื่นๆได้ บทความนี้ได้กล่าวถึงโรคมือ เท้า ปาก และการวินิจฉัยแยกโรค รวมไปถึงรายงานกรณีศึกษาผู้ป่วยหญิงไทยซึ่งพบรอยโรคที่ผิวหนังรวมทั้งรอยโรคในช่องปากโดยที่ไม่มีอาการไข้ก่อนที่จะมารับการรักษาทางทันตกรรมประจำปี โดยก่อนหน้านี้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเพียงอาการผื่นผิวหนังอักเสบ แต่ภายหลังได้รับการ วินิจฉัยโรคเป็นมือ เท้า ปาก โดยใช้ลักษณะทางคลินิกที่ปรากฏ ผู้ป่วยได้รับยาชาทาเฉพาะที่เพื่อลดอาการเจ็บปวดในช่องปาก จากการติดตามผลการรักษา พบว่ารอยโรคหายไปได้เองภายใน 10 วัน โดยไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ การวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องมีความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุขรวมทั้งทันตแพทย์ เนื่องจากรอยโรคในช่องปากอาจเป็นอาการแสดงแรก รวมทั้งลักษณะทางคลินิกที่พบอาจทำให้เกิดความสับสนในการวินิจฉัยแยกรอยโรคอื่นๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การวินิจฉัยโรคที่คลาดเคลื่อนและอาจส่งผลต่อการให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป คำสำคัญ : คอกซากีไวรัส  เอนเตอโรไวรัส  โรคมือ เท้า ปาก  แผลในช่องปาก

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ภัทรายุ แต่บรรพกุล, ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

เปี่ยมกมล วัชโรทยางกูร, ไม่ประสงค์เผยแพร่

ทันตแพทย์อิสระ

Downloads

How to Cite

1.
แต่บรรพกุล ภ, วัชโรทยางกูร เ. โรคมือ เท้า ปาก. SWU Dent J. [Internet]. 2017 Dec. 29 [cited 2024 Dec. 22];10(2):103-11. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/9557

Issue

Section

รายงานผู้ป่วย (Case reports or Case series)