ดัชนีเมนทัลและดัชนีพาโนรามิกแมนดิบูลาร์ สำหรับประเมินสภาวะกระดูกพรุนทางคลินิก:การศึกษานำร่องย้อนหลัง 10ปี ในกลุ่มผู้ป่วยทางทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Authors

  • สรสัณห์ รังสิยานนท์ ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ชาติชัย เชยวัฒนา ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ณัฐภัทร ปาไหน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ธนกร ชลิตังกูร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • วีรพล ประยูรวรวงศ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • อภินัทธ์ แสงสกุล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของ ดัชนีเมนทัล และ ดัชนีพาโนรามิกแมนดิบูลาร์ จากภาพรังสีแพโนรามาและปัจจัยเสี่ยงสภาวะกระดูกพรุนในผู้ป่วยทางทันตกรรม วัสดุและวิธีการทดลอง: รวบรวมภาพรังสีแพโนรามาของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ถึง ปี พ.ศ.2555 เพื่อประเมินดัชนีเมนทัล และ ดัชนีพาโนรามิกแมนดิบูลาร์  เก็บข้อมูลโดยวัดความยาวตั้งแต่จุดกึ่งกลางของเมนทัลฟอราเมน ไปถึง ขอบล่างของกระดูกขากรรไกรล่าง เพื่อใช้เป็นดัชนีเมนทัลและลากเส้นจากขอบล่างของเมนทัลฟอราเมน ไปตั้งฉากกับเส้นที่สัมผัสกับขอบล่างของกระดูกขากรรไกรล่าง แล้วคำนวณสัดส่วนระหว่างเมนทัล คอร์เท็ก และความยาวจากขอบล่างของ เมนทัลฟอราเมน ที่ลงไปตั้งฉากกับ เส้นที่สัมผัสกับขอบล่างของกระดูกขากรรไกรล่าง เพื่อใช้เป็นดัชนีพาโนรามิกแมนดิบูลาร์  การวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ (I) แบ่งกลุ่มตัวอย่างตามเพศ และ (II) แบ่งตามช่วงอายุ ได้ 2 กลุ่ม คือ ช่วงอายุ 20-30 ปี (เพศชาย และ เพศหญิง) (ช่วงมวลกระดูกสูงสุด) และ ช่วงอายุมากกว่า 60 ปี(เพศชาย และ เพศหญิง) นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติ ด้วยการวิเคราะห์ทีเทสแบบอิสระ และความแปรปรวนแบบทางเดียว โดยเทียบกับค่าดัชนีเมนทัล และดัชนีพาโนรามิกแมนดิบูลาร์  ที่มีค่ามาตรฐานเท่ากับ 3 มิลลิเมตรและ 0.3 มิลลิเมตรตามลำดับ ผลการศึกษา ส่วน (I) พบว่าค่าดัชนีเมลทัลเท่านั้นที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างเพศชายและหญิง ส่วน (II) กลุ่มเพศหญิงที่มีอายุเกิน 60 ปีแสดงค่าดัชนีเมลทัลที่สูงกว่ามาตรฐานและ ดัชนีพาโนรามิกแมนดิบูลาร์  ที่ต่ำกว่ามาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบค่าที่แตกต่างกันของดัชนีเมนทัลและดัชนีพาโนรามิกแมนดิบูลาร์  ระหว่างกลุ่มผู้หญิงอายุมากกว่า 60 ปีและกลุ่มชายอายุน้อย สรุปผล ค่าดัชนีเมนทัลจากภาพรังสีแพโนรามา มีความแตกต่างกันระหว่างเพศชายและหญิง แต่ดัชนีพาโนรามิกแมนดิบูลาร์ ไม่แตกต่าง และค่าดัชนีสองตัวนี้ในกลุ่มเพศหญิงอายุมากกว่า 60 ปี ไม่พบว่าต่ำกว่ามาตรฐานเมื่อเทียบกับกลุ่มศึกษาอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คำสำคัญ:  ดัชนีเมนทัล, ดัชนีพาโนรามิกแมนดิบูลาร์, สภาวะกระดูกพรุน, ภาพรังสีแพโนรามา

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

สรสัณห์ รังสิยานนท์, ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

รองศาสตราจารย์

ชาติชัย เชยวัฒนา, ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

อาจารย์

ณัฐภัทร ปาไหน, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

นิสิตระดับปริญญาตรี

ธนกร ชลิตังกูร, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

นิสิตระดับปริญญาตรี

วีรพล ประยูรวรวงศ์, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

นิสิตระดับปริญญาตรี

อภินัทธ์ แสงสกุล, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

นิสิตระดับปริญญาตรี

Downloads

How to Cite

1.
รังสิยานนท์ ส, เชยวัฒนา ช, ปาไหน ณ, ชลิตังกูร ธ, ประยูรวรวงศ์ ว, แสงสกุล อ. ดัชนีเมนทัลและดัชนีพาโนรามิกแมนดิบูลาร์ สำหรับประเมินสภาวะกระดูกพรุนทางคลินิก:การศึกษานำร่องย้อนหลัง 10ปี ในกลุ่มผู้ป่วยทางทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. SWU Dent J. [Internet]. 2017 Dec. 29 [cited 2024 Dec. 22];10(2):53-61. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/9550

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)