การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับการเกิดโรคลิ้นแผนที่ในนิสิตทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับการเกิดโรคลิ้นแผนที่ในประชากรนิสิตทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: สำรวจในกลุ่มนิสิตทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทุกคนในแต่ละชั้นปี โดยให้นิสิตทำแบบสำรวจความเครียดสวนปรุงเพื่อประเมินระดับความเครียดแต่ละบุคคล และตรวจในช่องปากช่องปากเพื่อหารอยโรคลิ้นแผนที่ ในวันเดียวกัน ผลการทดลอง: จากนิสิต จำนวน 378 คน เป็นชาย 105 คน (ร้อยละ 27.8) หญิง 273 คน (ร้อยละ 72.2) จากแบบสอบถาม พบว่า นิสิตมีความเครียดในระดับต่ำ จำนวน 53 คน (ร้อยละ 14) ระดับปานกลาง จำนวน 158 คน (ร้อยละ 41.8) ระดับสูงจำนวน 138 คน (ร้อยละ 36.5) และระดับรุนแรงจำนวน 29 คน (ร้อยละ 7.7) และพบว่า นิสิตเป็นโรคลิ้นแผนที่ จำนวน 25 คน (ร้อยละ 6.6) และพบอัตราการเกิดในเพศชายต่อเพศหญิงคิดสัดส่วนเป็น 2:1 โดยมีความเครียดในระดับต่ำ จำนวน 5 คน (ร้อยละ 20) ระดับปานกลาง จำนวน 7 คน (ร้อยละ 28) ระดับสูง จำนวน 10 คน (ร้อยละ 40) และระดับรุนแรง จำนวน 3 คน (ร้อยละ 12) โดยระดับความเครียดของนิสิตทันตแพทย์ มศวกับการเกิดโรคลิ้นแผนที่ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.415) คำสำคัญ: โรคลิ้นแผนที่, ความเครียด, ระดับความเครียด, แบบประเมินความเครียดDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
รังสิยานนท์ ส, กิจตรงศิริ พ, ไกรยวงษ์ ป, ลำดวน อ, อันทะชัย ก. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับการเกิดโรคลิ้นแผนที่ในนิสิตทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. SWU Dent J. [Internet]. 2017 Dec. 29 [cited 2024 Nov. 18];10(2):42-5. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/9547
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น