การศึกษาเปรียบเทียบมุมการเคลื่อนไหวของศีรษะและแขนส่วนบนของนักศึกษาทันตแพทย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในขณะฝึกปฏิบัติงานทันตกรรมด้วยอุปกรณ์ฝึกการยศาสตร์อัจฉริยะที่มีและไม่มีการป้อนกลับ
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบมุมการเคลื่อนไหวของศีรษะและแขนส่วนบนในการฝึกปฏิบัติงาน ทันตกรรมของนักศึกษาทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒชั้นปีที่ 6 กลุ่มที่มีการบันทึกการเคลื่อนไหว เพียงอย่างเดียวกับกลุ่มที่มีการบันทึกการเคลื่อนไหวและได้รับข้อมูลป้อนกลับโดยใช้อุปกรณ์การฝึกการยศาสตร์ อัจฉริยะ (Intelligent Ergonomic Trainer: IET) วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: การศึกษานี้เป็นการทดลองทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม โดยแบ่ง นักศึกษาทันตแพทย์ปีที่ 6 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจำนวน 16 คน ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คนด้วย วิธีการสุ่มอย่างง่าย คือ กลุ่มที่มีการบันทึกการเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียวและกลุ่มที่บันทึกการเคลื่อนไหวและได้ ข้อมูลป้อนกลับ ผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับการติดเซ็นเซอร์จำนวน 4 ตัว ไว้ที่ ข้างแว่นตา กึ่งกลางแขน ส่วนบนด้านขวา เก้าอี้ทันตแพทย์ และที่รองศีรษะผู้ป่วย ขณะทำการเตรียมโพรงฟันสำหรับอมัลกัมแบบที่ 1 ใน ฟันกรามใหญ่ซี่ที่หนึ่งบนด้านขวา โดยทำการวิจัยจำนวน 3 วัน ข้อมูลจะถูกส่งจากเซ็นเซอร์เข้าสู่ระบบวิเคราะห์ ทางการยศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์องศาการเคลื่อนไหว คือ การก้มและเงยศีรษะ และการกางและหุบแขน จากนั้น นำไปวิเคราะห์สถิติด้วย paired t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยมุมองศาการเคลื่อนไหวระหว่างการฝึกและหลัง การฝึกกับข้อมูลพื้นฐาน ผลการทดลอง: พบว่าเมื่อเปรียบเทียบทั้งกลุ่มที่มีการใช้อุปกรณ์ฝึกการยศาสตร์อัจฉริยะโดยมีการบันทึก และให้ข้อมูลป้อนกลับ (with feedback) และกลุ่มที่มีการบันทึกการเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียว (without feedback) นั้น ค่าเฉลี่ยองศาการเคลื่อนไหวของศีรษะของกลุ่มที่มีการใช้อุปกรณ์ฝึกการยศาสตร์อัจฉริยะโดยมีการ บันทึกและให้ข้อมูลป้อนกลับมีองศาการเคลื่อนไหวลดลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยองศาการเคลื่อนไหวพื้นฐานอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเฉลี่ยองศาการเคลื่อนไหวของแขนส่วนบนของกลุ่มที่มีการใช้อุปกรณ์ฝึกการยศาสตร์ อัจฉริยะ โดยมีการบันทึกและให้ข้อมูลป้อนกลับ มีการพัฒนาที่ดีขึ้นทั้งระหว่างการฝึกและหลังการฝึก คือองศา การเคลื่อนไหวลดลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยองศาการเคลื่อนไหวพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความ เชื่อมั่นร้อยละ 95 ส่วนกลุ่มที่มีการบันทึกการเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียว ค่าเฉลี่ยองศาการเคลื่อนไหวของแขน ระหว่างการฝึกและหลังการฝึกเมื่อเทียบกับข้อมูลพื้นฐาน พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 บทสรุป: การใช้อุปกรณ์ฝึกการยศาสตร์อัจฉริยะและได้ข้อมูลป้อนกลับ ช่วยลดการเคลื่อนไหวของแขน ส่วนบนเมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีการบันทึกการเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียว การใช้อุปกรณ์นี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาท่าทางการทำงานให้เหมาะสม คำสำคัญ : อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ การให้ข้อมูลป้อนกลับ ระบบเฉพาะส่วนบุคคล อุปกรณ์การยศาสตร์Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
ธนธรวงศ์ พ, เองสมบุญ ณ. การศึกษาเปรียบเทียบมุมการเคลื่อนไหวของศีรษะและแขนส่วนบนของนักศึกษาทันตแพทย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในขณะฝึกปฏิบัติงานทันตกรรมด้วยอุปกรณ์ฝึกการยศาสตร์อัจฉริยะที่มีและไม่มีการป้อนกลับ. SWU Dent J. [Internet]. 2017 Dec. 29 [cited 2025 Jan. 22];10(2):11-26. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/9543
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น