ผลของการสูบบุหรี่ต่อการมีเลือดออกที่เหงือกในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบ
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการมีเลือดออกจากร่องปริทันต์ระหว่างกลุ่มสูบบุหรี่ กับกลุ่มไม่สูบบุหรี่ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: การวิจัยเชิงวิเคราะห์ที่เก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้านี้ได้เก็บข้อมูลจากคนไข้จำนวน 63 คน ซึ่งใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกตามการศึกษาก่อนหน้านี้ และแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยตามการสูบบุหรี่ ตัวแปรทางคลินิกในงานวิจัยนี้มี ตัวแปรแผ่นคราบจุลินทรีย์ และตัวแปรการมีเลือดออกจากร่องปริทันต์เมื่อใช้เครื่องมือตรวจร่องปริทันต์ เก็บข้อมูล ก่อนการรักษา และหลังการรักษาโรคปริทันต์อักเสบแบบไร้ศัลยกรรม 6 เดือน เก็บข้อมูลตัวแปรโดยใช้ระบบตัวแปรทวิ (มี กับ ไม่มี) การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา: ก่อนได้รับการรักษา ผู้สูบบุหรี่แสดงผลการมีเลือดออกจากร่องปริทันต์น้อยกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แม้ว่าผู้ที่สูบบุหรี่จะมีคราบจุลินทรีย์มากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ก็ตาม โดยผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงในการมีเลือดออกเป็น 0.869 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ (95 % CI: 0.825 - 0.916) และผลกระทบนี้มีความรุนแรงมากที่สุดในบริเวณฟันบน และฟันหน้า สรุป: การสูบบุหรี่ส่งผลให้การมีเลือดออกจากร่องปริทันต์ลดน้อยลง คำสำคัญ: การมีเลือดออกจากร่องปริทันต์ , โรคปริทันต์อักเสบ , ร่องลึกปริทันต์ , การสูบบุหรี่Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
พรอนันต์รัตน์ น. ผลของการสูบบุหรี่ต่อการมีเลือดออกที่เหงือกในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบ. SWU Dent J. [Internet]. 2017 Jun. 30 [cited 2024 Nov. 18];10(1):61-72. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/8962
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น