ผลของยาอะซิโธรมัยซินต่อการลดความจำเป็นในการรักษาศัลย์ปริทันต์

Authors

  • พุทธิพร ชาญสุไชย กลุ่มงานบริการทันต สาธารณสุข 2 ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ถนนประชาสงเคราะห์ แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

Abstract

บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบจำนวนร่องลึกปริทันต์คงเหลือ 5 มิลลิเมตรขึ้นไปและจำนวนซี่ฟันที่ต้องได้รับการทำศัลย์ปริทันต์ภายหลังการรักษาระหว่างการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันในคราวเดียวร่วมกับการได้รับยาอะซิโธรมัยซินกับการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันในคราวเดียวแต่เพียงอย่างเดียว วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรังจำนวน 28 คน แบ่งเข้ากลุ่มทดลองและควบคุมจำนวน 14 คนต่อกลุ่ม ติดตามผลทางคลินิกที่ช่วงเริ่มต้น 3 และ 6 เดือน ดังนี้ ค่าความลึกร่อง     ปริทันต์ ระดับยึดทางคลินิก ค่าการมีเลือดออกหลังการโพรบและดัชนีคราบจุลินทรีย์ทั้งปาก เพื่อประเมินจำนวนร่องลึกปริทันต์คงเหลือ 5 มม.ขึ้นไป และจำนวนซี่ฟันที่ต้องได้รับการทำศัลย์ปริทันต์ ผลการศึกษา: ไม่พบความแตกต่างของจำนวนร่องลึกปริทันต์คงเหลือ 5 มิลลิเมตรขึ้นไป และจำนวนซี่ฟันที่ต้องได้รับการทำศัลย์ปริทันต์ระหว่างกลุ่มทดลองและควบคุม แต่กลุ่มควบคุมมีความเสี่ยงต่อการรักษาด้วยวิธีศัลย์ปริทันต์ 1.4 เท่าของกลุ่มทดลอง สรุป: แม้การขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันในคราวเดียวร่วมกับการได้รับยาอะซิโธรมัยซิน              ไม่อาจลดจำนวนร่องลึกปริทันต์คงเหลือ 5 มิลลิเมตรขึ้นไป และจำนวนซี่ฟันที่ต้องได้รับการทำศัลย์ปริทันต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  แต่ผลทางคลินิกพบแนวโน้มช่วยลดความเสี่ยงต่อการรักษาศัลย์ปริทันต์ คำสำคัญ: การขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันในคราวเดียว โรคปริทันต์อักเสบเรื้อรัง อะซิโธรมัยซิน

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

พุทธิพร ชาญสุไชย, กลุ่มงานบริการทันต สาธารณสุข 2 ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ถนนประชาสงเคราะห์ แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ

Downloads

How to Cite

1.
ชาญสุไชย พ. ผลของยาอะซิโธรมัยซินต่อการลดความจำเป็นในการรักษาศัลย์ปริทันต์. SWU Dent J. [Internet]. 2017 Jun. 30 [cited 2024 Nov. 18];10(1):44-60. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/8961

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)