ผลต้านเชื้อราของสารสกัดหยาบนมผึ้งต่อการเกาะติดของแคนดิดาอัลบิแคนส์ บนผิววัสดุเรซินอะคริลิกชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน
Abstract
บทคัดย่อ การอักเสบของเนื้อเยื่อใต้ฐานฟันปลอมเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ใส่ฟันปลอม โดยเฉพาะฟันปลอมที่มีฐานฟันปลอมทำจากอะคริลิก และมักพบเชื้อราชนิดแคนดิดาอัลบิแคนส์ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบของเนื้อเยื่อใต้ฐานฟันปลอม การรักษาโรคนี้ให้หายขาดทำได้ยากเนื่องจาก ผู้ป่วยมักละเลยการทำความสะอาดฟันปลอมและเชื้อราสามารถกลับมายึดเกาะบนฐานฟันปลอมได้ง่าย ปัจจุบันการใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษามักพบผลข้างเคียงและการดื้อยาเพิ่มมากขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีความสนใจนำสารสกัดหยาบจากนมผึ้งมาทดสอบประสิทธิภาพในการยั้บยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและฆ่าเชื้อรา พร้อมทั้งศึกษาการเกาะติดและการเกิดไบโอฟิล์มของเชื้อราบนผิววัสดุเรซินอะคริลิก ชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน ผู้วิจัยทำการเตรียมชิ้นงานอะคริลิกชนิดบ่มตัวด้วยความร้อนจำนวน 48 ชิ้น แบ่งเป็น 8 กลุ่มกลุ่มละ 6 ชิ้น โดยนำชิ้นงานมาทดสอบในน้ำเลี้ยงเชื้อชนิดซาโบรอดเดกซ์โทรสที่มีเชื้อและสารสกัดหยาบนมผึ้ง กลุ่มควบคุมเชิงบวกและกลุ่มควบคุมเชิงลบ บ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง เชื้อแคนดิดาอัลบิแคนส์ที่เกาะบนชิ้นงานจะถูกวิเคราะห์ด้วยวิธีเอ็มทีที และส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าสารสกัดหยาบนมผึ้งด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 20 สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อโดยมีค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่น้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อเท่ากับ 25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และสามารถลดปริมาณของเชื้อที่เกาะติดบนผิววัสดุได้ตั้งแต่ความเข้มข้นร้อยละ 6.25-50 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งมีความแตกต่างกับกลุ่มควบคุมเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และมีผลใกล้เคียงกับไอทราโคนาโซลซึ่งเป็นกลุ่มควบคุมเชิงบวก งานวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่าสารสกัดหยาบนมผึ้งมีผลต่อการควบคุมปริมาณเชื้อที่เกาะบนพื้นผิวของฟันปลอม ซึ่งสามารถช่วยป้องกันการอักเสบของเนื้อเยื่อใต้ฐานฟันปลอมคำสำคัญ: แคนดิดาอัลบิแคนส์, นมผึ้ง, ไบโอฟิล์ม, อะคริลิค, ฐานฟันปลอมDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
ศรีสุภาพ ด, ดิดรอน ภป. ผลต้านเชื้อราของสารสกัดหยาบนมผึ้งต่อการเกาะติดของแคนดิดาอัลบิแคนส์ บนผิววัสดุเรซินอะคริลิกชนิดบ่มตัวด้วยความร้อน. SWU Dent J. [Internet]. 2017 Jun. 30 [cited 2024 Nov. 18];10(1):32-43. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/8956
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น