การเปรียบเทียบระดับตัวชี้วัดทางชีววิทยาระหว่างผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบที่ได้รับการรักษาด้วยการขูดหินน้ำลายเกลารากฟันอย่างเดียวกับการขูดหินน้ำลายเกลารากฟันร่วมกับการรับประทานแคปซูลผงรากฮว่านง็อก

Authors

  • จิชาภา จงจินตรักษา คลินิกทันตกรรมบ้านหมอฟัน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 18000
  • ทิพาพร วงศ์สุรสิทธิ์ ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแคปซูลผงรากฮว่านง็อกต่อระดับสารสื่ออักเสบซี-รีแอคทีฟโปรตีนความไวสูง   ไฟบริโนเจน คลื่นไฟฟ้าหัวใจรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพอวัยวะปริทันต์ เมื่อรับประทานผงรากฮว่านง็อกร่วมกับการขูดหินน้ำลายเกลารากฟันทั้งปาก วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: อาสาสมัครจำนวน 46 คน  ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปริทันต์อักเสบระดับปานกลางหรือรุนแรงได้รับการคัดเลือกและแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองและควบคุมกลุ่มละ 23 คน  กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมรับประทานยาแคปซูลฮว่านง็อกและยาหลอกตามลำดับเป็นเวลา 2 สัปดาห์โดยรับประทานครั้งละ 4 แคปซูล ก่อนอาหารมื้อเช้าและมื้อเย็น   ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการขูดหินน้ำลายเกลารากฟันในสัปดาห์ที่ 2 และ 3    บันทึกผลซี-รีแอคทีฟโปรตีน ไฟบริโนเจน  ก่อนการทดลอง หลังการรับประทานยา  1  สัปดาห์    สัปดาห์ที่ 3   และ 3 เดือนหลังขูดหินน้ำลายเกลารากฟัน  บันทึกผลทางคลินิกก่อนการทดลอง หลังการรับประทานยา  1  สัปดาห์  และ 3  เดือนหลังขูดหินน้ำลายเกลารากฟัน ประเมินคลื่นหัวใจก่อนการรักษาและ 3   เดือนหลังขูดหินน้ำลายเกลารากฟัน ผลการทดลอง: ซี-รีแอคทีฟโปรตีนมีแนวโน้มลดลงในกลุ่มทดลอง แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในขณะที่ไฟบริโนเจนมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้ง 2 กลุ่ม    ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคลื่นหัวใจทั้ง  2  กลุ่ม ส่วนผลทางคลินิกปริทันต์พบว่าค่าเฉลี่ยร่องลึกปริทันต์ลดลงและระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์เพิ่มมากขึ้นภายหลังการรักษา ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสองกลุ่ม สรุปผล: การวิจัยครั้งนี้แสดงผลว่าการรับประทานผงรากฮว่านง็อก มีแนวโน้มในการลดสารสื่ออักเสบชนิดซี-รีแอคทีฟโปรตีน คำสำคัญ : การขูดหินน้ำลายเกลารากฟัน คลื่นหัวใจ  แคปซูลผงรากฮว่านง็อก   ซี-รีแอคทีฟโปรตีน  ไฟบริโนเจน   โรคปริทันต์อักเสบเรื้อรัง

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

จิชาภา จงจินตรักษา, คลินิกทันตกรรมบ้านหมอฟัน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 18000

ทันตแพทย์

ทิพาพร วงศ์สุรสิทธิ์, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

รองศาสตราจารย์

Downloads

How to Cite

1.
จงจินตรักษา จ, วงศ์สุรสิทธิ์ ท. การเปรียบเทียบระดับตัวชี้วัดทางชีววิทยาระหว่างผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบที่ได้รับการรักษาด้วยการขูดหินน้ำลายเกลารากฟันอย่างเดียวกับการขูดหินน้ำลายเกลารากฟันร่วมกับการรับประทานแคปซูลผงรากฮว่านง็อก. SWU Dent J. [Internet]. 2017 Jun. 30 [cited 2024 Dec. 26];10(1):11-3. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/8955

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)