การศึกษาการหักและข้อบกพร่องพื้นผิวของเครื่องมือตะไบที่หมุนด้วยเครื่องกลชนิดเรซิพรอคภายหลังการใช้ในคลองรากฟันตรง

Authors

  • ดวงดาว พลอยประดิษฐ์ กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเลิดสิน 190 ถนนสีลม แขวงศรีเวียง เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
  • สรสัณห์ รังสิยานนท์ ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันต แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถนนสุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • กนกพร สุขยานันท์ สำนักงานคณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซอยสุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการหักและข้อบกพร่องพื้นผิวของเครื่องมือเรซิพรอคขนาด R25 ภายหลังการใช้ขยายคลองรากฟัน วัสดุและวิธีการ: ได้นำฟันกรามล่างที่มีคลองรากตรงซึ่งถูกถอนออกมาจำนวน 120 ซี่มาขยายคลองรากฟันโดยใช้เครื่องมือตะไบที่หมุนด้วยเครื่องกลชนิดเรซิพรอค ขนาด R25 จำนวน 20 ตัว โดยมีการประเมินเครื่องมือก่อนใช้งานและหลังการใช้ขยายคลองรากฟันจำนวน 2, 4, 6, 8, 10 และ 12 คลองรากฟัน จากนั้นได้ประเมินคะแนนสภาพการหักและข้อบกพร่องพื้นผิวของเครื่องมือเมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดที่กำลังขยาย 25, 250 และ 1,000 เท่า และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบฟรีดแมน และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยการเปรียบเทียบพหุคูณ ผลการทดลอง: พบลักษณะรอยขรุขระใหญ่บนเครื่องมือเรซิพรอคหลังการใช้งานครั้งแรกในการขยาย 2 คลองราก หลังการใช้เครื่องมือขยาย 2 และ 4 คลองราก มีข้อบกพร่องพื้นผิวบนเครื่องมือได้เฉพาะคะแนน 2 เท่ากับร้อยละ 45 และ 60 ตามลำดับ โดยภายหลังการใช้เครื่องมือขยายคลองรากฟัน 6 คลองราก พบข้อบกพร่องพื้นผิวบนเครื่องมือมากขึ้นจนได้คะแนน 2 และ 3 ถึงร้อยละ 90 ทั้งนี้เครื่องมือทุกตัวมีข้อบกพร่องพื้นผิวได้คะแนน 2-4 หลังการใช้ขยาย 8 คลองราก จากผลการทดสอบด้วยสถิติทดสอบฟรีดแมน พบว่ามีคะแนนอย่างน้อย 2 ครั้งที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) เมื่อนำมาทดสอบต่อโดยการเปรียบเทียบแบบพหุคูณไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของคะแนนข้อบกพร่องพื้นผิวบนเครื่องมือหลังการใช้งานขยายคลองรากฟัน 2 และ 4 คลองรากกับก่อนใช้งาน แต่เริ่มพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของคะแนนข้อบกพร่องพื้นผิวบนเครื่องมือหลังการใช้ขยายคลองรากฟัน 6 คลองรากกับก่อนใช้งาน (p-value=0.0005) ตลอดการศึกษานี้ไม่พบการหักของเครื่องมือและการยืดของโลหะ สรุปผล: การศึกษานี้พบข้อบกพร่องพื้นผิวบนเครื่องมือเรซิพรอคขนาด R25 เกิดขึ้นหลังการใช้ขยายคลองรากตรง 2 คลองราก และไม่พบข้อบกพร่องพื้นผิวใดที่ทำให้เกิดการหักของเครื่องมือ คำสำคัญ: การขยายคลองรากฟัน เครื่องมือตะไบที่หมุนด้วยเครื่องกล ข้อบกพร่องพื้นผิว การหักของเครื่องมือ

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ดวงดาว พลอยประดิษฐ์, กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเลิดสิน 190 ถนนสีลม แขวงศรีเวียง เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500

ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ

สรสัณห์ รังสิยานนท์, ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันต แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถนนสุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

รองศาสตราจารย์

กนกพร สุขยานันท์, สำนักงานคณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซอยสุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

นักวิทยาศาสตร์

Downloads

How to Cite

1.
พลอยประดิษฐ์ ด, รังสิยานนท์ ส, สุขยานันท์ ก. การศึกษาการหักและข้อบกพร่องพื้นผิวของเครื่องมือตะไบที่หมุนด้วยเครื่องกลชนิดเรซิพรอคภายหลังการใช้ในคลองรากฟันตรง. SWU Dent J. [Internet]. 2016 Aug. 15 [cited 2024 Nov. 18];9(1):85-97. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/7853

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)