แรงต้านทานการแตกหักของฟันที่มีคลองรากฟันผายด้วยการบูรณะเดือยและแกนฟันต่างชนิดกัน
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินแรงต้านทานการแตกหักของฟนั ที่มีคลองรากฟันผายด้วยการบูรณะเดือยและแกนฟันต่างชนิดกัน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: เลือกฟันมนุษย์หน้าตัดบนคู่กลางที่ถูกถอนจากเหตุผลทางปริทันต์ 30 ซี่เก็บไว้ในน้ำกลั่น ทำการรักษาคลองรากฟัน แบ่งฟันเป็น 5 กลุ่ม ตามการบูรณะฟันดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ทำการบูรณะฟันด้วยเรซินคอมพอสิตโดยตรง กลุ่มที่ 2 เดือยและแกนฟันโลหะ กลุ่มที่ 3 บูรณะด้วยเดือยฟันไฟเบอร์และแกนคอมพอสิต กลุ่มที่ 4 เดือยฟันไฟเบอร์ร่วมกับเรซินคอมพอสิต และ กลุ่มที่ 5 เดือยและแกนฟันโลหะที่เสริมเรซินคอมพอสิต แล้วฝังไว้ในท่อพีวีซีโดยจำลองลักษณะทางปริทันต์ นำชิ้นงานมาทดสอบแรงกดอัดทำมุม 135 องศากับแกนฟันในแนวดิ่งด้านเพดานโดยใช้เครื่องทดสอบสากลชนิดอินสตรอน โดยใช้แรงกดอัดด้วยอัตราเร็ว 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที จนกระทั่งเกิดการแตกหัก บันทึกค่าแรงต้านทานการแตกหักและรูปแบบความล้มเหลว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการทดสอบโพสฮอคทูกีที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการทดลอง: กลุ่มที่ 5 มีแรงต้านทานการแตกหักที่สูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ กลุ่มควบคุมมีความแตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เดือยไฟเบอร์ร่วมกับเรซินคอมพอสิตไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากเดือยฟันไฟเบอร์และเดือยฟันโลหะ ชิ้นงานทั้งหมดในกลุ่มที่ 2 และ 5 มีความล้มเหลวที่ไม่สามารถบูรณะได้ ส่วนเดือยฟันไฟเบอร์และเดือยฟันไฟเบอร์ร่วมกันเรซินคอมพอสิตมีความล้มเหลวที่สามารถบูรณะได้ สรุปผล: กลุ่มเดือยและแกนฟันโลหะที่เสริมเรซินคอมพอสิตมีแรงต้านทานการแตกหักที่สูงที่สุด ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มเดือยฟันโลหะ เดือยฟันไฟเบอร์ และเดือยฟันไฟเบอร์ร่วมกับเรซินคอมพอสิต ในทางคลินิกเดือยฟันไฟเบอร์ร่วมกับเรซินคอมพอสิตเป็นทางเลือกในการบูรณะฟันที่มีคลองรากฟันผาย คำสำคัญ: คลองรากฟันผาย แรงต้านทานการแตกหัก เดือยและแกนฟัน การเสริมเรซินคอมพอสิต รูปแบบความล้มเหลวDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
เอี่ยมจิรกุล ณ, จุลแดง จ, วัชรางกูร อ. แรงต้านทานการแตกหักของฟันที่มีคลองรากฟันผายด้วยการบูรณะเดือยและแกนฟันต่างชนิดกัน. SWU Dent J. [Internet]. 2016 Aug. 15 [cited 2024 Dec. 22];9(1):71-84. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/7852
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น