การใช้อุปกรณ์ควบคุมกำกับท่าทางการทำงานและเก็บข้อมูลท่าทางการทำงานแบบไร้สายเพื่อปรับท่าทางการทำงานในนักศึกษาทันตแพทย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Authors

  • พรสวรรค์ ธนธรวงศ์ ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
  • อรศรี ชุติเนตร ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

Abstract

บทคัดย่อ การปฏิบัติงานทางทันตกรรมของทันตแพทย์ในปัจจุบันพบว่า มีทันตแพทย์จำนวนมากที่มีอาการปวดเมื่อยบริเวณ คอ บ่า ไหล่ และหลัง จนนำไปสู่การลดประสิทธิรูปของการทำงาน จากลักษณะงานเป็นการทำงานซ้ำๆ เป็นเวลานาน และต้องการความละเอียดสูง จึงทำให้ทันตแพทย์ต้องทำงานในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเพื่อทำให้มองเห็นได้ชัดเจน ปัจจุบันจึงมีการนำหลักการยศาสตร์มาใช้เพื่อช่วยลดโอกาสเกิดการบาดเจ็บจากการทำงานภายใต้แนวคิดการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาอุปกรณ์ควบคุมกำกับท่าทางการทำงานและเก็บข้อมูลท่าทางการทำงานแบบไร้สาย (Intelligent Posture Trainer: IPT) เพื่อช่วยกำหนดท่าทางการทำงานที่เหมาะสม โดยมีการบันทึกการเคลื่อนไหวและให้ข้อมูลป้อนกลับเมื่อทันตแพทย์ทำงานอยู่ในท่าทางที่ไม่สอดคล้องกับช่วงการเคลื่อนไหวที่เหมาะสม วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 16 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 8 คน กลุ่มแรกมีการใช้อุปกรณ์ควบคุมกำกับท่าทางการทำงานและเก็บข้อมูลท่าทางการทำงานแบบไร้สาย โดยมีการบันทึกและให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) อีกกลุ่มหนึ่งมีการบันทึกการเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียว ให้ทำการขูดหินน้ำลายในบริเวณฟันหลังบนด้านขวาโดยใช้เครื่องขูดหินน้ำลายอัลตราโซนิค 10 นาที ทำการฝึก 2 วัน วันละ 5 ครั้ง ในวันแรกทำการบันทึกการเคลื่อนไหวของทั้ง 2 กลุ่มเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน จากนั้นทำการฝึก 5 ครั้ง ในวันที่ 2 ทำการฝึก 5 ครั้งเช่นกัน ในวันที่ 3 ทำการบันทึกการเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียวทั้งสองกลุ่ม 2 ครั้ง นำข้อมูลการเคลื่อนไหวของทั้ง 2 กลุ่มที่เป็นข้อมูลพื้นฐานเปรียบเทียบกับข้อมูลครั้งหลังสุดโดยใช้ Pair T-test ผลการทดลอง: กลุ่มนักศึกษาที่มีการใช้อุปกรณ์ควบคุมกำกับท่าทางการทำงานและเก็บข้อมูลท่าทางการทำงานแบบไร้สาย แบบที่มีการบันทึกการเคลื่อนไหวและให้ข้อมูลป้อนกลับมีการปรับท่าทางการเคลื่อนไหวให้กลับมาอยู่ในช่วงการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีการบันทึกการเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผล: อุปกรณ์ควบคุมกำกับท่าทางการทำงานและเก็บข้อมูลท่าทางการทำงานแบบไร้สาย ช่วยกำหนดท่าทางการทำงานที่เหมาะสม คำสำคัญ: อุปกรณ์ควบคุมกำกับท่าทางการทำงานและเก็บข้อมูลท่าทางการทำงานแบบไร้สาย อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ การให้ข้อมูลป้อนกลับชนิดสั่น ระบบเฉพาะส่วนบุคคล แบบจำลองมาคอฟ  

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

พรสวรรค์ ธนธรวงศ์, ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

อรศรี ชุติเนตร, ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

อาจารย์

Downloads

How to Cite

1.
ธนธรวงศ์ พ, ชุติเนตร อ. การใช้อุปกรณ์ควบคุมกำกับท่าทางการทำงานและเก็บข้อมูลท่าทางการทำงานแบบไร้สายเพื่อปรับท่าทางการทำงานในนักศึกษาทันตแพทย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. SWU Dent J. [Internet]. 2016 Aug. 15 [cited 2025 Jan. 22];9(1):57-70. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/7850

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)