ผลของคลอเฮกซิดีนต่อการแสดงออกของยีนและการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์เอ็มเอ็มพี-2 ในเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์
Abstract
บทคัดย่อ เอ็มเอ็มพี-2 เป็นเอนไซม์ตัวหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการทำลายเนื้อเยื่อในโรคปริทันต์ การกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์เอ็มเอ็มพี-2 เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการควบคุมการทำงานของเอนไซม์นี้ คลอเอกซิดีนเป็นสารสำคัญที่ใช้ในการควบคุมการเกิดคราบจุลินทรีย์และลดการอักเสบของเนื้อเยื่อในช่องปาก ด้วยคุณสมบัติในการทำลายเชื้ออย่างกว้างขวางทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา คุณสมบัติในการคงอยู่ในช่องปากเป็นเวลานานหลังใช้ และยังพบอีกว่ามีความสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในกลุ่มเอ็มเอ็มพี วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของคลอเฮกซิดีนต่อการแสดงออกของยีน และการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์เอ็มเอ็มพี-2 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: เซลล์เอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ถูกเลี้ยงในสภาวะที่มีและไม่มีคลอเฮกซิดีนที่ความเข้มข้นต่าง ๆ เป็นเวลา 1 นาที หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็นอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีซีรัม ร้อยละ 1 โดยมีหรือไม่มีคอน เอเลี้ยงต่อไปอีก 24 ชั่วโมง ศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ด้วยวิธีเอ็มทีที ศึกษาระดับการแสดงออกของยีนเอ็มเอ็มพี-2เอ็มเอ็มพี-14 และทิมพ์-2 ด้วยวิธีเรียลไทม์อาร์ทีพีซีอาร์ และศึกษาการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์เอ็มเอ็มพี-2ด้วยวิธีไซโมกราฟี ผลการทดลอง: คลอเฮกซิดีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.12 และ 0.012 มีความเป็นพิษต่อเซลล์ โดยพบว่ามีค่าเฉลี่ยร้อยละความมีชีวิตของเซลล์เป็นร้อยละ 46.31%+6.8 และ 48.39%+4.49 ตามลำดับ แต่คลอเฮกซิดีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.0012 จะไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ และให้ผลในการยับยั้งการกระตุ้นการทำงานของเอ็มเอ็มพี-2 ในเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์เมื่อถูกเหนี่ยวนำด้วย คอน เอ นอกจากนี้ยังพบว่าคลอเฮกซิดีนไม่มีผลต่อปริมาณโปรเอ็มเอ็มพี-2 ที่สร้างออกมานอกเซลล์ และไม่มีผลต่อระดับการ สรุปผล: น้ำยาบ้วนปากคลอเฮกซิดีนในความเข้มข้นต่ำ (ร้อยละ 0.0012) ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ และสามารถยับยั้งการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์เอ็มเอ็มพี-2 ได้ คำสำคัญ: เอ็มเอ็มพี-2 คลอเฮกซิดีน เซลล์เอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
ตีรณธนากุล ส. ผลของคลอเฮกซิดีนต่อการแสดงออกของยีนและการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์เอ็มเอ็มพี-2 ในเซลล์เอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์. SWU Dent J. [Internet]. 2016 Aug. 15 [cited 2024 Nov. 18];9(1):12-23. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/7846
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น