การศึกษานำร่องเรื่องความต้านทานการแตกหักของฟันซึ่งผ่าน การรักษารากฟันที่สร้างเฟอร์รูลด้วยเรซินคอมโพสิต
Abstract
บทคัดย่อการบูรณะฟันภายหลังการรักษารากด้วยเดือยฟันและครอบฟันจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งเฟอร์รูลเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ ทั้งในเรื่องของความสูงของเฟอร์รูล หรือจำนวนด้านของเนื้อฟันที่เหลืออยู่ ในบางครั้งฟันที่ต้องการบูรณะจะมีลักษณะของคลองรากที่ผายออกมาก หรือเหลือเนื้อฟันในส่วนรากฟันอยู่บาง จึงมีการนำเรซินคอมโพสิต มาใช้เพื่อเสริมความแข็งแรงของผนังเนื้อฟัน และช่วยเพิ่มค่าแรงต้านทานการแตกหัก แต่ในงานวิจัยที่ผ่านมาไม่ได้มีการทำเรซินคอมโพสิตให้ให้เกิดลักษณะของเฟอร์รูลร่วมด้วยวัตถุประสงค์: เพื่อประเมินว่าการก่อเรซินคอมโพสิตเป็นส่วนของเฟอร์รูลจะช่วยเพิ่มความต้านการแตกหักของฟันได้หรือไม่วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ฟันกรามน้อยล่างซี่ที่หนึ่งที่ผ่านการรักษารากแล้วจำนวน 18 ซี่ นำมาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มโดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมที่มีเฟอร์รูล โดยมีเนื้อฟัน สูง 2 มิลลิเมตร กว้าง 2 มิลลิเมตรโดยรอบ ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ไม่มีเฟอร์รูล และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีเฟอร์รูลที่สร้างขึ้นจากเรซินคอมโพสิตความสูง 2 มิลลิเมตร กว้าง 2 มิลลิเมตร โดยรอบ แล้วบูรณะด้วยเดือยโลหะเหวี่ยง และครอบฟันโลหะทั้ง 3 กลุ่มจากนั้นทำการทดสอบด้วยเครื่องทดสอบสากล (Universal testing machine model 5566, Instron Co.,U.S.A.) โดยให้แรงกดอัดด้วยความเร็ว 1 มิลลิเมตรต่อนาที จนกระทั่งเกิดการแตกหัก บันทึกค่าแรงสูงสุดผลการทดลอง: ผลของแรงต้านทานการแตกหักเมื่อกดแรงลงบนครอบฟันพบว่าค่าเฉลี่ยของแรงที่ทำให้เกิดการแตกในกลุ่มที่ 1 มีค่า 1085.0 ± 208.4 นิวตัน กลุ่มที่ 2 มีค่า 581.6 ± 159.0 นิวตัน และกลุ่มที่ 3 มีค่า388.1 ± 73.5 นิวตัน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)และเปรียบเทียบพหุคูณชนิดเชฟเฟ (Scheffe’s Test) พบว่า กลุ่มที่ 1 สูงกว่ากลุ่มที่ 2 และ กลุ่มที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญสรุปผล: การเสริมผนังคลองรากฟันด้วยเรซินคอมโพสิตและสร้างเป็นเฟอร์รูล ไม่ได้ส่งผลให้มีความต้านทานการแตกหักเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบกับกลุ่มที่มีเนื้อฟันเพียงพอเป็นเฟอร์รูลและกลุ่มที่ไม่มีลักษณะเนื้อฟันเป็นเฟอร์รูลคำสำคัญ: เฟอร์รูล เรซินคอมโพสิต เฟอร์รูล ความต้านทานการแตกหัก เดือยและแกนฟันโลหะเหDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
ปึงไพบูลย์ อ, ทองเนรมิตรชัย ว. การศึกษานำร่องเรื่องความต้านทานการแตกหักของฟันซึ่งผ่าน การรักษารากฟันที่สร้างเฟอร์รูลด้วยเรซินคอมโพสิต. SWU Dent J. [Internet]. 2015 Dec. 24 [cited 2025 Jan. 22];8(2):81-93. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/6979
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น