ความรู้และความคิดเห็นต่อการนอนกัดฟันของผู้ป่วยทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract
บทคัดย่อการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจระดับความรู้ ความคิดเห็นต่อการนอนกัดฟัน และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนอนกัดฟันของผู้ป่วยที่มารับการรักษาทางทันตกรรม และ(2) ศึกษาผลของปัจจัยด้านเพศ อายุอาชีพ ระดับการศึกษา การรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการนอนกัดฟัน และการรายงานการนอนกัดฟันต่อระดับความรู้และความคิดเห็น ทำการศึกษาในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 โดยผู้ป่วยจำนวน 277 คน ตอบแบบสอบถามที่ประกอบด้วยแบบวัดความรู้ 25 ข้อครอบคลุมเนื้อหาต่างๆ ของการนอนกัดฟัน แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการนอนกัดฟันในด้านต่างๆ 16 ข้อและแบบสำรวจพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการนอนกัดฟัน 19 ข้อ โดยความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในส่วนความรู้มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .8778 ในส่วนความคิดเห็นมีค่า .8588 และในส่วนพฤติกรรมมีค่า .7511 ผลศึกษาพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 13.3 รายงานว่าตนเองนอนกัดฟัน คะแนนรวมในด้านความรู้เรื่องนอนกัดฟันโดยเฉลี่ยร้อยละ 36.9 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับน้อย ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเพศ อายุ อาชีพ การรับทราบข้อมูลเรื่องการนอนกัดฟัน และการรายงานการนอนกัดฟัน แต่ผู้ป่วยที่มีการศึกษาระดับสูงจะมีความรู้มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (p <.01) ในส่วนของความคิดเห็นพบว่าผู้ป่วยเพียงร้อยละ 20.9-53.1 เห็นว่าการนอนกัดฟันมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และสนใจข่าวสารเกี่ยวกับการนอนกัดฟันเพียงร้อยละ 20.6-29.2 แต่กว่าร้อยละ 70 ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาการนอนกัดฟัน ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเพศ อาชีพ ระดับการศึกษา และการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการนอนกัดฟัน แต่ผู้ป่วยที่มีอายุ และการรายงานการนอนกัดฟันต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการนอนกัดฟันต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ พฤติกรรมที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่คิดว่าเกี่ยวข้องกับการนอนกัดฟัน ได้แก่ รู้สึกใจร้อนหงุดหงิดง่าย ง่วงนอนตอนกลางวัน เคี้ยวของแข็ง นอนไม่เพียงพอเคี้ยวอาหารข้างเดียว เครียด เคี้ยวของเหนียว นอนไม่ค่อยหลับ เคี้ยวหมากฝรั่ง รู้สึกวิตกกังวล/กลัว แต่ผู้ที่รายงานการนอนกัดฟันต่างกัน มีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนอนกัดฟันไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญโดยสรุปพบว่าถึงแม้ผู้ป่วยที่มารับการรักษาทางทันตกรรมจะตระหนักถึงความสำคัญในการรักษา แต่ผู้ป่วยก็ยังมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนอนกัดฟันระดับน้อย เห็นว่าการนอนกัดฟันมีผลกระทบต่อชีวิตประจำ วันไม่มากนักและไม่ค่อยสนใจติดตามข่าวสารเรื่องการนอนกัดฟันคำสำคัญ: นอนกัดฟัน ความรู้ ความคิดเห็นDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
ภู่เกียรติ ฟ. ความรู้และความคิดเห็นต่อการนอนกัดฟันของผู้ป่วยทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. SWU Dent J. [Internet]. 2015 Dec. 24 [cited 2025 Jan. 22];8(2):68-80. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/6978
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น