รอยรั่วระดับจุลภาคของเดือยฟันเส้นใยสำเร็จรูปเมื่อยึดด้วยวัสดุทำแกนฟันแบบบ่มด้วยแสงร่วมกับบ่มเองและเรซินซีเมนต์ที่มีการปรับสภาพพื้นผิวแบบกรดกัดรวม
Abstract
บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รอยรั่วระดับจุลภาคของเดือยฟันเส้นใยสำเร็จรูปเมื่อยึดด้วยวัสดุทำแกนฟันแบบบ่มด้วยแสงร่วมกับบ่มเองและเรซินซีเมนต์ที่มีการปรับสภาพพื้นผิวแบบกรดกัดรวม ฟันกรามน้อยล่างของมนุษย์จำนวน 60 ซี่ ซึ่งผ่านการรักษาคลองรากฟันตามการรักษาทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ จากนั้นเตรียมคลองรากฟันสำหรับเดือยเส้นใยซึ่งยึดด้วยเรซินซีเมนต์ที่มีการปรับสภาพพื้นผิวแบบกรดกัดรวม จำนวน 30 ซี่ และยึดด้วยวัสดุทำแกนฟันแบบบ่มด้วยแสงร่วมกับบ่มเองร่วมกับสารยึดติดระบบกรดกัดรวม จำนวน 30 ซี่ นำฟันที่บูรณะแล้วจำนวน 60 ซี่ มาตัดส่วนรากฟันในแนวใกล้กลาง-ไกลกลาง ได้ชิ้นงานทดสอบมีความหนา 1 มิลลิเมตร จำนวน 3 ชิ้นต่อ 1 รากฟัน คือ ระดับใกล้คอฟัน (L1) ระดับกลางรากฟัน (L3) และระดับใกล้ปลายรากฟัน (L5) นำชิ้นงานทั้งหมด แช่ในสารละลายเมทิลีนบลูความเข้มข้นร้อยละ 2 เป็นเวลา 24 ชั่วโมงแล้ว ทำการบันทึกรอยรั่วระดับจุลภาคทั้ง 3 ระดับภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 40 เท่า นำข้อมูลที่บันทึกได้มาทำการทดสอบทางสถิติโดยใช้ แมนวิทนี่ยูและครัสคัลวาลิส ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลองพบว่ารอยรั่วระดับจุลภาคของวัสดุบูรณะทั้ง 2 ชนิดทั้ง 3 ระดับของคลองรากฟันไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และเมื่อเปรียบเทียบที่ระดับเดียวกันของคลองรากฟัน พบว่ารอยรั่วระดับจุลภาคของวัสดุบูรณะทั้ง 2 ชนิด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) สรุปผลการศึกษาพบว่า ชนิดของวัสดุบูรณะและระดับคลองรากฟัน ไม่มีผลต่อรอยรั่วระดับจุลภาคของการยึดเดือยฟันเส้นใยกับผนังคลองรากฟัน คำสำคัญ: รอยรั่วระดับจุลภาค เรซินซีเมนต์ วัสดุทำแกนฟัน บ่มเองร่วมกับบ่มด้วยแสง ผนังคลองรากฟันDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
ลิมป์ลาวัณย์ ธ. รอยรั่วระดับจุลภาคของเดือยฟันเส้นใยสำเร็จรูปเมื่อยึดด้วยวัสดุทำแกนฟันแบบบ่มด้วยแสงร่วมกับบ่มเองและเรซินซีเมนต์ที่มีการปรับสภาพพื้นผิวแบบกรดกัดรวม. SWU Dent J. [Internet]. 2015 Jun. 30 [cited 2024 Dec. 27];8(1):63-86. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/5422
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น