สัดส่วนระหว่างต้นทุนต่อหน่วยกับค่ารักษาพยาบาลที่เรียกเก็บของคลินิกทันตกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract
บทคัดย่อ การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของกิจกรรมต่างๆ เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารคณะทันตแพทยศาสตร์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของการให้บริการทันตกรรมพื้นฐานของคลินิกทันตกรรมนักศึกษา ได้แก่ งานทันตกรรมหัตถการ งานปริทันตวิทยา และงานศัลยกรรมช่องปาก รวมทั้งจำแนกต้นทุนประเภทต่างๆ และเปรียบเทียบกับค่ารักษาพยาบาลที่เรียกเก็บ ทำการศึกษาในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 โดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เด็นทัลดีอาร์จีเพื่อการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของหัตถการประเภทต่างๆ ด้วยข้อมูลทั้งจากเวชระเบียนและข้อมูลต้นทุนในแต่ละกลุ่ม จากนั้นนำต้นทุนต่อหน่วยไปเปรียบเทียบกับค่ารักษาพยาบาลที่เรียกเก็บ พบว่าต้นทุนต่อหน่วยที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สูงกว่าค่ารักษาพยาบาลที่เรียกเก็บ และต้นทุนจากการศึกษาในประเทศไทยก่อนหน้านี้ค่อนข้างมาก ต้นทุนต่อหน่วยของงานทันตกรรมหัตถการอยู่ในช่วง 849.08-889.39 บาท ขณะที่ราคาเรียกเก็บอยู่ในช่วง 80.00-350.00 บาท ต้นทุนต่อหน่วยของงานปริทันตวิทยาอยู่ในช่วง 1,150.48-4,769.06 บาท ขณะที่ราคาเรียกเก็บอยู่ในช่วง 100.00-300.00 บาท ต้นทุนต่อหน่วยของงานศัลยกรรมช่องปากอยู่ในช่วง 866.80-1,185.44 บาท ขณะที่ราคาเรียกเก็บอยู่ในช่วง 50.00-750.00 บาท ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากต้นทุนค่าลงทุนที่ค่อนข้างสูง ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนงบประมาณของคณะ รวมทั้งใช้ในการบริหารทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด คำสำคัญ: ต้นทุนและการวิเคราะห์ต้นทุน ทันตสารสนเทศ กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ต้นทุนบริการสุขภาพ กลไกเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
จันทรเวคิน ย, บุญส่ง ส, มนต์อารักษ์ ร, ม่วงสีเสียด ส, ภาคย์ธวัช ส. สัดส่วนระหว่างต้นทุนต่อหน่วยกับค่ารักษาพยาบาลที่เรียกเก็บของคลินิกทันตกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. SWU Dent J. [Internet]. 2015 Jun. 30 [cited 2024 Dec. 23];8(1):49-62. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/5421
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น