การยึดเกาะของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์มนุษย์บนผิวรากฟันที่ได้รับ การขูดด้วยเครื่องขูดอัลตราโซนิกส์และฉายเลเซอร์ Er,Cr:YSGG
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: การรักษาโรคปริทันต์โดยไม่อาศัยการทำศัลยกรรมปริทันต์ยังคงให้ผลการรักษาที่จำกัดปัจจุบันมีการศึกษาที่แสดงถึงผลดีของการใช้เลเซอร์ในทางทันตกรรมมากขึ้น การใช้เลเซอร์ร่วมในการรักษาจึงอาจเพิ่มผลสำเร็จในรักษาโรคปริทันต์ได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลทางห้องปฏิบัติการของการใช้เลเซอร์ Er,Cr:YSGG ในการปรับสภาพผิวรากฟันที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบ หลังผ่านการขูดหินนํ้าลายและเกลารากฟันด้วยเครื่องขูดอัลตราโซนิกส์ ต่อการยึดเกาะของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์มนุษย์ที่เลี้ยงในห้องปฏิบัติการ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: เตรียมผิวรากฟันตัวอย่าง จากฟันที่ถอนด้วยโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง และฟันปกติที่ถอนด้วยเหตุผลทางทันตกรรมจัดฟัน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมลบ เตรียมจากฟันเป็นโรคปริทันต์กลุ่มที่เป็นโรคปริทันต์ผ่านการขูดหินนํ้าลายและเกลารากฟันด้วยเครื่องขูดอัลตราโซนิกส์เพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ผ่านการขูดหินนํ้าลายและเกลารากฟันด้วยเครื่องขูดอัลตราโซนิกส์ และได้รับเลเซอร์ Er,Cr:YSGG ที่ความถี่ 30เฮิรตซ์ อีกกลุ่มหนึ่งใช้ความถี่ 50 เฮิรตซ์ตามลำดับ และกลุ่มควบคุมบวกเตรียมจากฟันปกติ จากนั้นเลี้ยงเซลล์เอ็นยึดปริทันต์มนุษย์ให้เกิดการยึดเกาะกับผิวรากฟันแต่ละกลุ่ม จนวันที่ 5 จึงทำการเปรียบเทียบจำนวนเซลล์ที่ยึดเกาะโดยการตรวจสอบความมีชีวิตของเซลล์บนผิวรากฟัน ใช้จำนวนตัวอย่างกลุ่มละ 25 ชิ้น ผลการทดลอง: ผิวรากฟันที่ได้รับเลเซอร์มีจำนวนเซลล์ยึดเกาะมากกว่ากลุ่มที่ผ่านการขูดหินนํ้าลายและเกลารากฟันด้วยเครื่องขูดอัลตราโซนิกส์เพียงอย่างเดียวและกลุ่มที่เป็นโรคปริทันต์ พบว่ากลุ่มที่ใช้เครื่องขูดอัลตราโซนิกส์เพียงอย่างเดียว มีจำนวนเซลล์น้อยกว่ากลุ่มฟันปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ขณะที่กลุ่มที่ได้รับเลเซอร์ที่ความถี่ 50 เฮิรตซ์ มีจำนวนเซลล์ยึดเกาะจำนวนมาก ไม่แตกต่างจากกลุ่มฟันปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผล: การใช้เลเซอร์ Er,Cr:YSGG สามารถปรับสภาพผิวรากฟัน ช่วยให้เกิดสภาวะที่เหมาะสมและมีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ จึงเอื้อต่อการยึดเกาะของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์มนุษย์คำสำคัญ: เลเซอร์ในทางทันตกรรม Er,Cr:YSGG การรักษาโรคปริทันต์โดยไม่อาศัยการทำศัลยกรรมปริทันต์ การปรับสภาพผิวรากฟัน การขูดหินนํ้าลายและเกลารากฟันด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิกส์Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
เกิดมณี ก, เหล่าศรีสิน ณ. การยึดเกาะของเซลล์เอ็นยึดปริทันต์มนุษย์บนผิวรากฟันที่ได้รับ การขูดด้วยเครื่องขูดอัลตราโซนิกส์และฉายเลเซอร์ Er,Cr:YSGG. SWU Dent J. [Internet]. 2015 Jun. 30 [cited 2024 Nov. 18];8(1):38-4. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/5420
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น