การรั่วซึมระดับจุลภาคของเรซินซีเมนต์ชนิดบ่มเองร่วมกับบ่มด้วยแสงที่ระดับต่างๆของผนังคลองรากฟัน

Authors

  • ธีรชัย ลิมป์ลาวัณย์ ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ณัฐวุฒิ พารักษ์ แผนกทันตกรรม โรงพยาบาลเขมราฐ 319 หมู่ 1 ถนนอรุณประเสริฐ เขมราฐ อุบลราชธานี ประเทศไทย 34170
  • จุฑาวรรณ ศรีโพธิ์ทองนาค แผนกทันตกรรม ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 62 หมู่ 7 ถนนรังสิตนครนายก องครักษ์ นครนายก ประเทศไทย 26120
  • ชิดชนก เศรษฐศิริสมบัติ แผนกทันตกรรม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี 77 หมู่ 4 ทับตีเหล็ก เมือง สุพรรณบุรี ประเทศไทย 72000
  • ประไพพร เรือนใจมั่น แผนกทันตกรรม โรงพยาบาลมุกดาหาร 24 พิทักษ์พนมเขต เมือง มุกดาหาร ประเทศไทย 49000

Abstract

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบรอยรั่วระดับจุลภาคของเรซินซีเมนต์ 2 ชนิดที่ระดับต่างๆของคลองรากฟันภายหลังจากยึดเดือยไฟเบอร์ ฟันตัดบนของมนุษย์จำนวน 33 ซี่ ซึ่งผ่านการรักษาคลองรากฟันตามการรักษาทางวิทยาเอ็นโดดอนต์ หลังจากนั้นเตรียมคลองรากฟันสำหรับเดือยไฟเบอร์ซึ่งยึดด้วยเรซินซีเมนต์ 2 ชนิดคือ เรซินซีเมนต์ชนิดเซฟล์เอชท์จำนวน 15 ซี่ และเรซินซีเมนต์ชนิดที่มีสารยึดติดอยู่ในตัวเองจำนวน 15 ซี่ ส่วนที่เหลืออีก 3 ซี่เป็นกลุ่มควบคุม นำฟันที่บูรณะแล้วมาตัดส่วนตัวฟันและตัดส่วนรากฟันตามหน้าตัดขวางที่ระดับต่างๆกัน 2 ระดับคือ 1 มิลลิเมตรต่ำกว่าระดับรอยต่อเคลือบรากฟันกับเคลือบฟัน และ 1 มิลลิเมตรเหนือกัตทาเพอร์ชา นำฟันทั้ง 33 ซี่แช่ในสารละลายเบสิกฟุตซินความเข้มข้นร้อยละ 0.5เป็นเวลา 24 ชั่วโมงแล้วจึงนำมาตัดกึ่งกลางรากฟันและทำการบันทึกรอยรั่วระดับจุลภาคทั้ง 3 ระดับภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 10 เท่า นำข้อมูลที่บันทึกได้มาทำการทดสอบทางสถิติโดยใช้วิลค็อกซันไซส์แรงค์ และคลูซคัลวาลลิส ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ผลการทดลองพบว่ารอยรั่วซึมระดับจุลภาคของเรซินซีเมนต์ทั้ง 2 ชนิดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อทดสอบรอยรั่วระดับจุลภาคทั้ง 3 ระดับของคลองรากฟันของเรซินซีเมนต์ทั้ง 2 ชนิด พบว่า ทั้ง 3 ระดับมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยที่ระดับ1 มิลลิเมตรเหนือกัตทาเพอร์ชามีรอยรั่วระดับจุลภาคมากที่สุด และที่ระดับ1 มิลลิเมตรต่ำกว่าระดับรอยต่อเคลือบรากฟันกับเคลือบฟันมีรอยรั่วระดับจุลภาคน้อยที่สุด จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า มีการรั่วซึมระดับจุลภาคเกิดขึ้นของเรซินซีเมนต์ทั้ง 2 ชนิดที่ระดับต่างๆของผนังคลองรากฟัน โดยพบการรั่วซึมระดับจุลภาคมากที่สุดที่บริเวณ ปลายรากฟันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)  แต่การรั่วซึมระหว่าง เรซินซีเมต์ชนิดเซล์ฟเอท์ช และเรซินซีเมนต์ชนิดที่มีสารยึดติดอยู่ในตัวเองแต่ละบริเวณของผนังคลองรากฟันไม่แตกกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คำสำคัญ : การรั่วซึมระดับจุลภาค เรซินซีเมนต์ บ่มเองร่วมกับบ่มด้วยแสง ผนังคลองรากฟัน

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ธีรชัย ลิมป์ลาวัณย์, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

อาจารย์

ณัฐวุฒิ พารักษ์, แผนกทันตกรรม โรงพยาบาลเขมราฐ 319 หมู่ 1 ถนนอรุณประเสริฐ เขมราฐ อุบลราชธานี ประเทศไทย 34170

ทันตแพทย์

จุฑาวรรณ ศรีโพธิ์ทองนาค, แผนกทันตกรรม ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 62 หมู่ 7 ถนนรังสิตนครนายก องครักษ์ นครนายก ประเทศไทย 26120

ทันตแพทย์

ชิดชนก เศรษฐศิริสมบัติ, แผนกทันตกรรม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี 77 หมู่ 4 ทับตีเหล็ก เมือง สุพรรณบุรี ประเทศไทย 72000

ทันตแพทย์

ประไพพร เรือนใจมั่น, แผนกทันตกรรม โรงพยาบาลมุกดาหาร 24 พิทักษ์พนมเขต เมือง มุกดาหาร ประเทศไทย 49000

ทันตแพทย์

Downloads

How to Cite

1.
ลิมป์ลาวัณย์ ธ, พารักษ์ ณ, ศรีโพธิ์ทองนาค จ, เศรษฐศิริสมบัติ ช, เรือนใจมั่น ป. การรั่วซึมระดับจุลภาคของเรซินซีเมนต์ชนิดบ่มเองร่วมกับบ่มด้วยแสงที่ระดับต่างๆของผนังคลองรากฟัน. SWU Dent J. [Internet]. 2015 Mar. 27 [cited 2024 Dec. 22];6(2):48-64. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/5197

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)