การศึกษาเปรียบเทียบกิจกรรมกล้ามเนื้อของหลังส่วนบนขณะทำงานของนักศึกษาทันตแพทย์ที่ได้รับและไม่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากระบบวิเคราะห์แนวโน้มการเจ็บป่วยจากท่าทางการทำงานและปรับปรุงท่าทางการทำงานอัจฉริยะ

Authors

  • พรสวรรค์ ธนธรวงศ์ ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์:    เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกิจกรรมกล้ามเนื้อของหลังส่วนบนขณะทำงานของนักศึกษาทันตแพทย์ที่ได้รับและไม่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากระบบวิเคราะห์แนวโน้มการเจ็บป่วยจากท่าทางการทำงาน และปรับปรุงท่าทางการทำงานอัจฉริยะ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ประชากรเป้าหมายในการศึกษาเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ จำนวน 16 คน งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองแบบ 2 × 2 Crossover design คือมีกลุ่มนักศึกษาทันตแพทย์ 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน แต่ละกลุ่มแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับตำแหน่งของท่าทางการทำงาน และ กลุ่มที่ไม่ได้รับข้อมูลป้อนกลับตำแหน่งของท่าทางการทำงาน บันทึกข้อมูลค่ากระแสไฟฟ้าของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน ด้วยเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography) ร่วมกับการให้ข้อมูลป้อนกลับจากระบบวิเคราะห์แนวโน้มการเจ็บป่วยจากท่าทางการทำงาน และปรับปรุงท่าทางการทำงานอัจฉริยะ ผู้ร่วมวิจัยจะติดตั้งเซนเซอร์ไว้ที่กระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 4  (4thThoractic)  แล้วเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่มีโมเดลวิเคราะห์อัจฉริยะรวมอยู่ในฐานข้อมูล ขณะเก็บข้อมูล ระบบจะมีการบันทึกข้อมูลลงในโปรแกรมทุกๆ 5 วินาที และในช่วงที่ให้ข้อมูลป้อนกลับตำแหน่งของท่าทางการทำงาน ระบบจะทำการแจ้งเตือนหรือให้ข้อมูลป้อนกลับผู้ใช้งานทันทีที่ระบบตรวจพบว่าท่าทางการทำงานนั้นๆ เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของร่างกาย ส่วนในช่วงที่ไม่ให้ข้อมูลป้อนกลับตำแหน่งของท่าทางการทำงาน ระบบจะไม่มีการแจ้งเตือน ผู้วิจัยจัดหาอาสาสมัครที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเหงือกอักเสบ และมีความประสงค์จะรับการรักษาโรคเหงือกอักเสบโดยการขูดหินน้ำลาย ผู้เข้าร่วมงานวิจัยขูดหินน้ำลายทุกตำแหน่งในช่องปากของอาสาสมัคร โดยเครื่องขูดหินน้ำลายอัลตร้าโซนิก (ultrasonic scaler) บันทึกค่ากระแสไฟฟ้าของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนตลอดการทำงาน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ ผลการศึกษา:    ค่าเฉลี่ยกระแสไฟฟ้าของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนของนักศึกษาทันตแพทย์ในกลุ่มที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากระบบวิเคราะห์แนวโน้มการเจ็บป่วยจากท่าทางการทำงาน และปรับปรุงท่าทางการทำงานอัจฉริยะ มีค่าเท่ากับ 7.74±6.57 %MVC ในกลุ่มที่ไม่ได้รับข้อมูลป้อนกลับ เท่ากับ 16.52±4.42 %MVC เมื่อทดสอบทางสถิติ พบว่าค่าเฉลี่ยกระแสไฟฟ้าของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนของนักศึกษาทันตแพทย์ทั้ง 2 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05[B1] ) สรุป:    ค่าเฉลี่ยกระแสไฟฟ้าของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนของกลุ่มที่ได้ข้อมูลป้อนกลับจากระบบวิเคราะห์แนวโน้มการเจ็บป่วยจากท่าทางการทำงาน และปรับปรุงท่าทางการทำงานอัจฉริยะมีค่าแตกต่างกับกลุ่มที่ไม่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากระบบวิเคราะห์แนวโน้มการเจ็บป่วยจากท่าทางการทำงาน และปรับปรุงท่าทางการทำงานอัจฉริยะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การปฏิบัติงานทันตกรรมมีแนวโม้มสูงที่จะเกิดอาการปวดของกล้ามเนื้อและกระดูก งานวิจัยนี้คาดหวังให้นักศึกษาทันตแพทย์ได้เพิ่มความตระหนักในท่าทางการทำงาน ฝึกการปฏิบัติงานทางคลินิกในท่าทางที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดการจดจำของกล้ามเนื้อต่างๆ การให้ข้อมูลป้อนกลับจากระบบวิเคราะห์แนวโน้มการเจ็บป่วยจากท่าทางการทำงาน และปรับปรุงท่าทางการทำงานอัจฉริยะ เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้นักศึกษาทันตแพทย์ปรับท่าทางการทำงานให้ร่างกายส่วนต่างๆโดยเฉพาะหลังส่วนบนอยู่ในสภาวะปกติและสมดุล คำสำคัญ: แบบจำลองมาคอฟ อาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ การให้ข้อมูลป้อนกลับชนิดสั่น การวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ระบบเฉพาะส่วนบุคคล [B1]

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

พรสวรรค์ ธนธรวงศ์, ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

Downloads

How to Cite

1.
ธนธรวงศ์ พ. การศึกษาเปรียบเทียบกิจกรรมกล้ามเนื้อของหลังส่วนบนขณะทำงานของนักศึกษาทันตแพทย์ที่ได้รับและไม่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากระบบวิเคราะห์แนวโน้มการเจ็บป่วยจากท่าทางการทำงานและปรับปรุงท่าทางการทำงานอัจฉริยะ. SWU Dent J. [Internet]. 2014 Dec. 24 [cited 2025 Jan. 22];7(2):90-102. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4895

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)