การเสื่อมของขนแปรงสีฟันชนิดเรียวและชนิดเกลียว
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสื่อมและการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของขนแปรงสีฟันชนิดเรียวและชนิดเกลียว วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: อาสาสมัคร 30 คน ได้รับการขูดหินน้ำลายและขัดฟัน แบ่งการแปรงฟันเป็น 2 ช่วง ให้อาสาสมัครแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันขนแปรงชนิดเรียวและแปรงสีฟันขนแปรงชนิดเกลียวที่กำหนดโดยวิธีสุ่ม โดยวิธีโมดิฟายด์บาสด้วยยาสีฟันที่กำหนดให้ ทุกวัน วัน ละ 2 ครั้ง ครั้ง ละ 3 นาที นาน 1 เดือน หลังเสร็จการศึกษาในช่วงแรก เว้นระยะ 2 สัปดาห์ ขูดหินน้ำลายและขัดฟันอีกครั้ง จึงเริ่มศึกษาในช่วงที่สองอีก 1 เดือน ด้วยแปรงสีฟันคนละชนิดกับที่ได้รับครั้งแรก นำแปรงสีฟันทั้ง 60 ด้าม และแปรงสีฟันทั้งสองชนิดที่ยังไม่ได้ใช้งานชนิดละ 6 ด้าม ไปศึกษาระดับการเสื่อมและรูปร่างปลายขนแปรงสีฟันด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษา: พบการเสื่อมของขนแปรงสีฟันที่ยังไม่ได้ใช้งานทั้ง 2 ชนิด โดยเฉพาะขนแปรงสีฟันชนิดเกลียวที่มีความบกพร่องร้อยละ 44.17 การศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบการเปลี่ยนแปลงรูปร่างปลายขนแปรงสีฟันชนิดเรียวและชนิดเกลียวที่ใช้แล้ว 1 เดือน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ขนแปรงสีฟันที่ใช้แล้วทั้งสองชนิดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง จากเรียวและเกลียวเป็นโค้งงอ หักทู่ และ/หรือแตก โดยเฉพาะชนิดเกลียว ขนแปรงสีฟันทั้งชนิดเรียวและชนิดเกลียวมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างตั้งแต่การเสื่อมระดับ 1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างมากที่สุดที่ระดับการเสื่อม 2 สรุป: ขนแปรงสีฟันที่ยังไม่มีการใช้งานมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง โดยขนแปรงสีฟันชนิดเกลียวมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานการผลิต ปลายขนแปรงสีฟันที่ใช้แล้วชนิดเกลียวมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างมากกว่าขนแปรงสีฟันที่ใช้แล้วชนิดเรียว คำสำคัญ: ขนแปรงสีฟันชนิดเรียว แปรงสีฟัน การบานของแปรงสีฟัน การเสื่อมของแปรงสีฟัน ขนแปรงสีฟันชนิดเกลียวDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
วิทวัสพันธุ์ พ, แสนทวีสุข เ, เกาศัลย์ ต, คูผาสุข ย, เกิดวงศ์บัณฑิต ว. การเสื่อมของขนแปรงสีฟันชนิดเรียวและชนิดเกลียว. SWU Dent J. [Internet]. 2014 Dec. 24 [cited 2024 Dec. 22];7(2):12-23. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4890
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น