การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปาก 2 ชนิดในการเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อวิเคราะห์เชื้อเอชพีวีจากช่องปากและลำคอในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวี

Authors

  • สรสัณห์ รังสิยานนท์ ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันต แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • เปี่ยมกมล วัชโรทยางกูร ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ทิพวัลย์ ปันคำ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ถนนราชดำริ, แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร, 10330
  • นิตยา ภานุภาค ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ถนนราชดำริ, แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร, 10330

Abstract

เชื้อฮิวแมน แพปพิลโลมาไวรัส (เอชพีวี) จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอันหนึ่งในการก่อโรคมะเร็งที่บริเวณช่องปากและลำคอ ในยุคที่มีการใช้ยาต้านเชื้อรีโทรไวรัสชนิดประสิทธิภาพสูง พบว่าในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ฮิวแมน อิมมูโนดิฟิเชียนซี ไวรัส (เอชไอวี) มีโอกาสเสี่ยงที่จะพบเชื้อเอชพีวีได้มากขึ้น แต่ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการพบเชื้อเอชพีวีในช่องปากในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเอชไอวี ยังไม่มีการพิสูจน์อย่างชัดเจน วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปาก 2 ชนิดในการเก็บสิ่งส่งตรวจและวิเคราะห์ชนิดของเชื้อเอชพีวีจากช่องปากและลำคอของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวี วิธีการศึกษา ทำการศึกษาที่คลีนิคนิรนาม สภากาชาดไทย ช่วงระหว่างปี พ.ศ.2553-2554 โดยกลุ่มศึกษาเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีและยินยอมเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 20 คน โดยแบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คนเท่าๆกัน ให้ผู้ป่วยกลุ่มละ 10 คน กลั้วช่องปากและลำคอ ด้วยน้ำยาบ้วนปากอย่างใดอย่างหนึ่งจากน้ำยาบ้วนปาก 2 ชนิด ได้แก่  น้ำยายี่ห้อสโคป ซึ่งเป็นสินค้านำเข้าไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย และน้ำยาบ้วนปากคอลเกต    โททอล พลัคซ์ ซึ่งมีจำหน่ายในประเทศไทย จากนั้นนำสิ่งส่งตรวจไปวิเคราะห์หาความชุกของเชื้อเอชพีวีด้วยกระบวนการพีซีอาร์ แล้วนำไปจำแนกชนิดของเชื้อเอชพีวีจำนวน 37 สายพันธุ์ ด้วยการใช้ลิเนียร์อะเรย์ เอชพีวี จีโนไทปิ้งเทสท์ ของบริษัท โรช โมเลกุลาร์ ซิสเท็มส์ ผลการศึกษา จากผู้ป่วยจำนวน 20 คน เป็นผู้ป่วยเพศชาย 12 คนและหญิง 8 คนช่วงอายุ19-48 ปี (อายุเฉลี่ยเท่ากับ 36 ปี) พบว่าในกลุ่มที่ใช้น้ำยาบ้วนปากสโคป 10 คน มี 2 คนที่สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสเอชพีวีคิดเป็นร้อยละ 20 โดยสามารถนำไปวิเคราะห์จำแนกชนิดเชื้อได้เป็นเชื้อเอชพีวีชนิด 16 และ 69 ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มที่ใช้น้ำยาบ้วนปากคอลเกต โททอล พลัคซ์ สามารถตรวจพบเชื้อเอชพีวีได้ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 20 เช่นกัน แต่ไม่สามารถจำแนกชนิดของไวรัสเอชพีวีได้  ซึ่งต่อมาได้ทำการทดลองเก็บตัวอย่างซ้ำในกลุ่มผู้ป่วยที่ในครั้งแรกใช้น้ำยาบ้วนปากคอลเกต โททอล พลัคซ์โดยในครั้งที่สองใช้น้ำยาบ้วนปาก สโคป แทน พบว่าสามารถตรวจพบเชื้อเอชพีวีได้ 2 คนเหมือนเดิม และสามารถวิเคราะห์แยกชนิดเชื้อได้เป็นเชื้อเอชพีวีชนิด 45 และ 55 ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย น้ำยาบ้วนปากสโคปมีประสิทธิภาพในการเก็บสิ่งส่งตรวจจากบริเวณช่องปากและลำคอเพื่อการนำไปวิเคราะห์ชนิดของเชื้อเอชพีวีได้ดีกว่านำยาบ้วนปากคอลเกต โททอลพลัคซ์ คำสำคัญ : น้ำยาบ้วนปาก เชื้อเอชพีวี ชนิดของเชื้อเอชพีวี

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

สรสัณห์ รังสิยานนท์, ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันต แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

รองศาสตราจารย์

เปี่ยมกมล วัชโรทยางกูร, ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

อาจารย์

ทิพวัลย์ ปันคำ, ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ถนนราชดำริ, แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร, 10330

นักเทคนิคการแพทย์

นิตยา ภานุภาค, ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ถนนราชดำริ, แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร, 10330

แพทย์

Downloads

How to Cite

1.
รังสิยานนท์ ส, วัชโรทยางกูร เ, ปันคำ ท, ภานุภาค น. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปาก 2 ชนิดในการเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อวิเคราะห์เชื้อเอชพีวีจากช่องปากและลำคอในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวี. SWU Dent J. [Internet]. 2014 Sep. 19 [cited 2024 Nov. 18];6(1):42-51. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4562

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)