ค่าความแข็งผิวแบบนูปของวัสดุครอบฟันและสะพานฟันชั่วคราวชนิดบ่มเองร่วมกับบ่มด้วยแสงภายใต้ความหนาของซิลิโคนชนิดใสที่ระดับต่างๆ

Authors

  • ธีรชัย ลิมป์ลาวัณย์ ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • มะลิ พลานุเวช ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าความแข็งผิวแบบนูปของวัสดุครอบฟันและสะพานฟันชั่วคราวชนิดบ่มเองร่วมกับบ่มด้วยแสงภายใต้ความหนาของซิลิโคนชนิดใสที่ระดับต่างๆ โดยศึกษาในวัสดุครอบฟันและสะพานฟันชั่วคราวชนิดบ่มเองร่วมกับบ่มด้วยแสงคือ เทมสแปน และ ลักซาเทมโซล่า ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดจะแบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม ในกลุ่มเทมสแปนกำหนดให้ S0 เป็นกลุ่มที่ไม่ใช้ซิลิโคนชนิดใส กลุ่ม S2 S4 และ S6 เป็นกลุ่มที่ใช้ซิลิโคนชนิดใสที่มีความหนา 2.0 4.0 และ 6.0 มิลลิเมตร ตามลำดับ ในแต่ละกลุ่มทดลองแบ่งได้อีก 4 กลุ่มทดลองย่อยโดยขึ้นกับจุดที่ทำการวัดความแข็งผิวแบบนูป โดยจุดที่ทำการวัดความแข็งผิวแบบนูปจะเริ่มจากส่วนบนสุดของวัสดุทดสอบ 0.25 มิลลิเมตร (กลุ่ม D0)  2.0 มิลลิเมตร (กลุ่ม D2)  4.0 มิลลิเมตร (กลุ่ม D4) และ 6.0 มิลลิเมตร (กลุ่ม D6) ในกลุ่มลักซาเทมโซล่า วิธีการเตรียมและกำหนดจุดทดสอบชิ้นงานจะเหมือนกันกลุ่มเทมสแปน โดยแต่ละกลุ่มย่อยจะทำการทดสอบความแข็งผิวแบบนูปจำนวน 12 ตัวอย่าง ค่าเฉลี่ยความแข็งผิวแบบนูปและร้อยละของค่าเฉลี่ยความแข็งผิวแบบนูปของวัสดุครอบฟันและสะพานฟันชั่วคราวชนิดบ่มเองร่วมกับบ่มด้วยแสงจะถูกบันทึกและวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง และเปรียบเทียบเชิงซ้อนด้วยวิธีทูกีย์ ผลการทดลองพบว่าค่าเฉลี่ยความแข็งผิวแบบนูปและร้อยละของค่าเฉลี่ยความแข็งผิวแบบนูปทุกกลุ่มย่อยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) และไม่มีกลุ่มตัวอย่างใดที่มีร้อยละของค่าเฉลี่ยความแข็งผิวแบบนูปเกินร้อยละ 80 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยความแข็งผิวแบบนูปที่ระดับ D0 ทำให้สรุปผลการทดลองได้ว่า เมื่อใช้แสงจากเครื่องฉายแสงชนิดฮาโลเจนเพียงอย่างเดียวในการบ่มวัสดุครอบฟันและสะพานฟันชั่วคราวชนิดบ่มเองร่วมกับบ่มด้วยแสงพบว่า ความหนาของของซิลิโคนชนิดใสมีผลต่อค่าความแข็งผิวแบบนูปของวัสดุครอบฟันและสะพานฟันชั่วคราวชนิดบ่มเองร่วมกับบ่มด้วยแสง  ดังนั้นการใช้โครงแบบซิลิโคนชนิดใสผลิตวัสดุครอบฟันและสะพานฟันชั่วคราวจำเป็นต้องมีการฉายแสงเพิ่มเติมเพื่อให้วัสดุมีความแข็งแรงมากขึ้นก่อนให้ผู้ป่วยใช้งานจริง คำสำคัญ : ซิลิโคนชนิดใส ความแข็งผิวแบบนูป วัสดุครอบฟันและสะพานฟันชั่วคราว การบ่มเองร่วมกับบ่มด้วยแสง

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ธีรชัย ลิมป์ลาวัณย์, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

อาจารย์

มะลิ พลานุเวช, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

อาจารย์

Downloads

How to Cite

1.
ลิมป์ลาวัณย์ ธ, พลานุเวช ม. ค่าความแข็งผิวแบบนูปของวัสดุครอบฟันและสะพานฟันชั่วคราวชนิดบ่มเองร่วมกับบ่มด้วยแสงภายใต้ความหนาของซิลิโคนชนิดใสที่ระดับต่างๆ. SWU Dent J. [Internet]. 2014 Sep. 19 [cited 2024 Dec. 22];6(1):25-41. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4561

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)