ผลการเคี้ยวผลไม้ต่อการลดปริมาณคราบจุลินทรีย์

Authors

  • จามรี เสมา ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โทรศัพท์ 0-2649-5212 โทรสาร 0-2649-5212
  • อาณาจักร์ ฉันทนสุขศิลป์ ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทรศัพท์ 0-7442-9877
  • ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โทรศัพท์ 0-2649-5212 โทรสาร 0-2649-5212

Abstract

เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการเคี้ยวผลไม้ที่มีอยู่ในประเทศไทย 4 ชนิด ได้แก่ ฝรั่ง แคนตาลูป ส้มและแอปเปิล ต่อการลดปริมาณคราบจุลินทรีย์ โดยอาสาสมัครจำนวน 20 คน (ชาย 4 คน หญิง 16 คน)อายุระหว่าง 18–30 ปี ซึ่งมีอวัยวะปริทันต์ปกติหรือเป็นโรคเหงือกอักเสบระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และไม่มีประวัติการเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ให้อาสาสมัครแต่ละคนเคี้ยวผลไม้ทั้ง 4 ชนิด ปริมาณ 100 กรัมจำนวน 220 ครั้งในแต่ละชนิด โดยทิ้งระยะห่างทุก 1 สัปดาห์ เปรียบเทียบค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ก่อนและหลังเคี้ยวผลไม้แต่ละชนิด ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลต่างของระดับคราบจุลินทรีย์ก่อนและหลังการเคี้ยวฝรั่ง แคนตาลูป ส้ม และแอปเปิลมีค่า 0.71±0.34, 0.35±0.21,0.27±0.15 และ 0.42±0.21 ตามลำดับ ผลการเคี้ยวฝรั่งมีค่าเฉลี่ยของผลต่างของคราบจุลินทรีย์ก่อนและหลังการเคี้ยวมากกว่าการเคี้ยวผลไม้อีก 3 ชนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าผลต่างของระดับคราบจุลินทรีย์ก่อนและหลังการเคี้ยว แคนตาลูป และส้ม ในฟันหน้ามีความแตกต่างกับในฟันหลังอย่างไม่มีนัยสำคัญ ในขณะที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการเคี้ยวฝรั่งและแอปเปิล (p<0.05) เมื่อพิจารณาผลความแตกต่างของคราบจุลินทรีย์ก่อนและหลังการเคี้ยวที่บริเวณด้านใกล้แก้มเทียบกับที่บริเวณด้านใกล้ลิ้นกลับไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการเคี้ยวผลไม้ชนิดใดเลย ผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า ฝรั่ง แอปเปิล แคนตาลูป และส้ม ต่างมีผลต่อการลดปริมาณคราบจุลินทรีย์หลังจากรับประทานได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่การเคี้ยวฝรั่งจะให้ค่าเฉลี่ยของผลต่างของระดับคราบจุลินทรีย์ก่อนและหลังการรับประทานมากกว่าผลไม้ชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)   คำสำคัญ: การเคี้ยวผลไม้ การลดคราบจุลินทรีย์

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

อาณาจักร์ ฉันทนสุขศิลป์, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทรศัพท์ 0-7442-9877

ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์

ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โทรศัพท์ 0-2649-5212 โทรสาร 0-2649-5212

ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์

Downloads

How to Cite

1.
เสมา จ, ฉันทนสุขศิลป์ อ, เหล่าศรีสิน ณ. ผลการเคี้ยวผลไม้ต่อการลดปริมาณคราบจุลินทรีย์. SWU Dent J. [Internet]. 2014 Sep. 18 [cited 2024 Nov. 16];4(1):20-7. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4526

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)