การแยกเหงือก(gingival displacement)

Authors

  • มะลิ พลานุเวช ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท23 เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110

Abstract

บทคัดย่อ ในงานทันตกรรมบูรณะชนิดอาศัยห้องปฏิบัติการนอกช่องปากนั้น การแยกเหงือกให้ร่องเหงือกกว้าง 0.2 มิลลิเมตร ช่วยให้ได้แบบพิมพ์ฟันที่มีคุณภาพ การแยกเหงือกสามารถทำได้ง่ายและเห็นขอบฟันที่จะบูรณะชัดเจนนั้นอวัยวะปริทันต์ต้องแข็งแรงและขอบฟันที่จะบูรณะอยู่ใต้ขอบเหงือกในตำแหน่งที่เหมาะสม การแยกเหงือกด้วยวิธีการทางกลร่วมกับทางเคมีโดยใช้ด้ายแยกเหงือกชุบน้ำยาเคมีชนิดต่างๆ ได้รับความนิยมมาก อีพิเนฟฟรินเป็นสารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะมีผลเสียต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด เลเซอร์ได้ถูกนำมาใช้ตัดแต่งเหงือกส่วนเกินที่ปิดขอบฟันที่จะบูรณะโดยใช้ร่วมกับด้ายแยกเหงือกและสารเคมี จากรายงานต่างๆ พบว่าการแยกเหงือกด้วยวิธีต่างๆ มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันความเหนือกว่าของเทคนิกแยกเหงือกเทคนิกใดโดยเฉพาะ การเลือกใช้ขึ้นกับความชอบส่วนบุคคลและลักษณะความสมบูรณ์ของอวัยวะปริทันต์รอบขอบฟันที่จะบูรณะ คำสำคัญ : การแยกเหงือก ด้ายแยกเหงือก ขอบฟัน ร่องเหงือก

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

มะลิ พลานุเวช, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท23 เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110

อาจารย์

Downloads

How to Cite

1.
พลานุเวช ม. การแยกเหงือก(gingival displacement). SWU Dent J. [Internet]. 2015 Mar. 27 [cited 2024 Dec. 22];6(2):90-102. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4477

Issue

Section

บทความปริทัศน์ (Review articles)