ผลการเกลารากฟันซ้ำด้วยเครื่องขูดพีโซอิเล็คทริก อัลตราโซนิกในรอยโรคที่หลงเหลือหลังจากการรักษาระยะที่ 1

Authors

  • ดลหทัย อุมะนันทน์ แผนกทันตกรรม โรงพยาบาลบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
  • ชื่นชีวิต ทองศิริ ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • จามรี เสมา ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

Abstract

บทคัดย่อ ภายหลังเมื่อทำการเกลารากฟันเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบในขั้นตอนการรักษาระยะที่ 1 ของการรักษาโรคปริทันต์เสร็จสิ้นแล้ว มักพบเสมอว่าจะยังคงมีร่องลึกปริทันต์ปรากฎหลงเหลืออยู่ จึงทำให้ต้องมีการเกลารากฟันซ้ำหรือเลือกทำศัลยปริทันต์เป็นขั้นตอนต่อไป อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ได้เคยมีการศึกษาถึงผลดีของการใช้เครื่องขูดพีโซอิเล็คทริก อัลตร้าโซนิก แทนการเกลารากฟันด้วยคิวเรตต์มาแล้วในขั้นตอนของการรักษาขั้นต้นนั้นด้วย การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาวะปริทันต์และปริมาณเชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิส เมื่อทำการเกลารากฟันซ้ำด้วยเครื่องขูดพีโซอิเล็คทริก อัลตร้าโซนิกเปรียบเทียบกับการใช้คิวเรตต์ ทำการคัดเลือกฟันที่มีร่องลึกปริทันต์ หลงเหลืออยู่ตั้งแต่ 4 มิลลิเมตรขึ้นไป จำนวน 35 คู่จากอาสาสมัคร 19 คน ที่ได้รับการรักษาขั้นต้นแล้ว จากคลินิกคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยเป็นฟันประเภทเดียวกันแต่อยู่คนละด้านของขากรรไกร ทำการเกลารากฟันซ้ำด้วยเครื่องขูดพีโซอิเล็คทริก อัลตร้าโซนิกในฟันกลุ่มทดลอง และด้วยคิวเรตต์ในฟันกลุ่มควบคุมโดยวิธีเลือกแบบสุ่ม ทำการวัดค่าทางคลินิกได้แก่ ความลึกของร่องลึกปริทันต์ ระดับการยึดเกาะอวัยวะปริทันต์ ระดับเหงือกร่น และดัชนีการมีเลือดออกของเหงือก ร่วมกับการเก็บเชื้อเพื่อตรวจหาปริมาณเชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิสโดยวิธีควอนทิเททีฟ เรียลไทม์ พีซีอาร์ ณ เวลาก่อนการรักษาและหลังการรักษา 6 และ 12 สัปดาห์ ผลการศึกษาทางคลินิกพบมีการลดลงของร่องลึกปริทันต์ และเพิ่มขึ้นของระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ อย่างมีนัยสำคัญางสถิติ ในทั้งสองกลุ่มการรักษา ภายหลังสัปดาห์ที่ 6  และ 12 แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม นอกจากนี้ พบมีจำนวนผู้ป่วยและจำนวนตำแหน่งฟันที่ตรวจไม่พบเชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิสเพิ่มขึ้น รวมถึงมีการลดลงของปริมาณเชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิส ในตำแหน่งที่ตรวจพบด้วยในทั้งสองกลุ่มการรักษา แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม จึงสรุปได้ว่า การใช้ครื่องขูดพีโซอิเล็กทริก อัลตราโซนิกในการขูดร่องลึกปริทันต์ซ้ำในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาขั้นต้นแล้ว เป็นอีกทางเลือกที่สามารถให้ผลการรักษาที่ดีไม่แตกต่างจากการใช้คิวเรตต์ คำสำคัญ: การเกลารากฟัน  เชื้อพอร์ไฟโรโมแนสจิงจิวาลิส  ปฏิกิริยาเรียลไทม์พีซีอาร์  การรักษาโรคปริทันต์ระยะประคับประคอง  เครื่องขูดหินน้ำลายพีโซอิเล็กทริกอัลตราโซนิก

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ดลหทัย อุมะนันทน์, แผนกทันตกรรม โรงพยาบาลบ่อทอง จังหวัดชลบุรี

ทันตแพทย์

ชื่นชีวิต ทองศิริ, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

อาจารย์

จามรี เสมา, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

อาจารย์

ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

รองศาสตราจารย์

Downloads

How to Cite

1.
อุมะนันทน์ ด, ทองศิริ ช, เสมา จ, เหล่าศรีสิน ณ. ผลการเกลารากฟันซ้ำด้วยเครื่องขูดพีโซอิเล็คทริก อัลตราโซนิกในรอยโรคที่หลงเหลือหลังจากการรักษาระยะที่ 1. SWU Dent J. [Internet]. 2015 Mar. 27 [cited 2024 Nov. 18];6(2):65-77. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4475

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)