ผลของเทคนิคการพิมพ์แบบต่อความสามารถในการไหลแทรกของซิลิโคนชนิดเติม
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของเทคนิคการพิมพ์แบบต่อความสามารถในการไหลแทรกของซิลิโคนชนิดเติมสู่ร่องเหงือกจำลอง วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ จำลองร่องเหงือกของมนุษย์และสภาพเหงือกในคลินิกด้วยร่องเหงือกจำลองที่ทำจากชิ้นทองเหลืองและวุ้นให้มีความลึก 3 มิลลิเมตรกว้าง 0.05 0.1 และ 0.2 มิลลิเมตรตามลำดับ ทำการพิมพ์ร่องเหงือกจำลองแต่ละความกว้างด้วยวัสดุพิมพ์ซิลิโคนชนิดเติมด้วยเทคนิคการพิมพ์แบบครั้งเดียว เทคนิคการพิมพ์พัตตี้และชนิดหนืดน้อย 1 ขั้นตอน และเทคนิคการพิมพ์พัตตี้และชนิดหนืดน้อย 2 ขั้นตอน เทคนิคละ6 ชิ้น รวมรอยพิมพ์ทั้งสิ้น 54 ชิ้น วัดระยะไหลแทรกของวัสดุพิมพ์ด้วยเครื่องวัดระยะทางอย่างละเอียด แล้วนำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง และเปรียบเทียบเชิงซ้อนทีละคู่ด้วยสถิติแอลเอสดีโพสฮอค ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลอง พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของความสามารถในการไหลแทรกของวัสดุพิมพ์แบบในความกว้างของร่องเหงือกและเทคนิคการพิมพ์แบบ (p < 0.05) และไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคการพิมพ์แบบและความกว้างของร่องเหงือก (p > 0.05) ในความกว้างของร่องเหงือก 0.5 มิลลิเมตร เทคนิคการพิมพ์พัตตี้และชนิดหนืดน้อย 2 ขั้นตอน วัสดุพิมพ์มีความสามารถในการแทรกมากกว่าเทคนิคการพิมพ์พัตตี้และชนิดหนืดน้อย 1 ขั้นตอนและเทคนิคการพิมพ์ครั้งเดียว (p < 0.05) อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของเทคนิคการพิมพ์พัตตี้และชนิดหนืดน้อย 1 และ 2 ขั้นตอนในความกว้างของร่องเหงือก 0.1 และ 0.2 มิลลิเมตร สรุปผลการทดลอง วัสดุพิมพ์แบบสามารถแทรกลงในร่องเหงือกได้มากขึ้นเมื่อความกว้างของร่องเหงือกเพิ่มมากขึ้น เทคนิคการพิมพ์พัตตี้และชนิดหนืดน้อย 2 ขั้นตอนสามารถแทรกลงไปได้ดีที่สุดในร่องเหงือกที่แคบที่สุด คำสำคัญ: เทคนิคการพิมพ์ปาก ความสามารถในการแทรก ซิลิโคนชนิดเติมDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
เอี่ยมจิรกุล ณ, มณีไพโรจน์ ว, ศรีเศรษฐนิล ส. ผลของเทคนิคการพิมพ์แบบต่อความสามารถในการไหลแทรกของซิลิโคนชนิดเติม. SWU Dent J. [Internet]. 2015 Mar. 27 [cited 2025 Jan. 22];6(2):24-3. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4474
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น