ความชุกและปัจจัยทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคฟันผุในผู้ป่วยเด็กคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract
บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความชุกและศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคฟันผุในผู้ป่วยเด็กอายุ 5-7 ปี ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยเก็บข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยเด็กระหว่างปี พ.ศ.2548–2554 จำนวน 300 คน โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติไค-สแควร์ และ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของโรคฟันผุเป็นร้อยละ 87.67 ค่าเฉลี่ยดัชนีผุ ถอน อุดเป็น 9.53 ซี่/คน จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุ พบว่า ปัจจัยด้านน้ำหนักและส่วนสูงมีความสัมพันธ์กับการเกิดฟันผุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.001) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยเด็กที่มีน้ำหนักและส่วนสูงมากกว่าเกณฑ์นั้น มีโอกาสเกิดฟันผุได้มากกว่าผู้ป่วยที่มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ 4 เท่า (OR = 4.00, 95% CI = 1.3-9.18) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านเพศ ปัจจัยด้านพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และปัจจัยด้านลักษณะการสบฟัน กับการเกิดฟันผุในเด็ก อย่างไรก็ตาม โรคฟันผุเป็นโรคที่เกิดจากพหุปัจจัย จึงควรมีการศึกษาลักษณะอื่นๆ เช่น การศึกษาสหสัมพันธ์เปรียบเทียบ และการศึกษาเชิงทดลองเพื่อให้สามารถเห็นความสัมพันธ์ที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น คำสำคัญ: ความชุก ปัจจัยทางกายภาพ ฟันผุ ผู้ป่วยเด็กDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
แก้วสุทธา ณ, บุญอินทร์ ธ, เหลืองเรืองรอง ค, มาไพศาลสิน ช, ฉายวิริยะ จ. ความชุกและปัจจัยทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคฟันผุในผู้ป่วยเด็กคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. SWU Dent J. [Internet]. 2015 Mar. 27 [cited 2024 Nov. 18];6(2):35-47. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4473
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น