ผลของการเตรียมพื้นผิวต่อความแข็งแรงของการยึดติดของนาโนคอมโพสิต

Authors

  • ภาวิณีย์ ปฎิพัทธ์วุฒิกุล ดิดรอน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความแข็งแรงของการยึดติดระหว่างคอมโพสิตใหม่และคอมโพสิตที่ผ่านการจำลองการใช้งาน และเพื่อศึกษาผลของการเตรียมพื้นผิวแบบต่างๆ ต่อความแข็งแรงของการยึดติดของคอมโพสิต ชิ้นทดสอบคอมโพสิตทรงกระบอก(ø 5 มม X 4 มม) จำนวน 90 ชิ้น ถูกเตรียมและเก็บในน้ำปราศจากประจุที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 180 วัน และแบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม (กลุ่มละ 10 ชิ้น) ซึ่งได้รับการเตรียมพื้นผิวด้วยวิธีการต่างๆ กันก่อนทำการยึดติดกับคอมโพสิตใหม่ดังนี้ กลุ่มที่ 1: ทำผิวให้ขรุขระด้วยหัวกรอเพชรความหยาบปานกลาง, กลุ่มที่ 2: ทำผิวให้ขรุขระด้วยผงอะลูมินัมออกไซด์, กลุ่มที่ 3: ทำผิวให้ขรุขระด้วยหัวกรอเพชรและทาสารยึดติดแอดเปอร์สกอตช์บอนด์เอสอี, กลุ่มที่ 4: ทำผิวให้ขรุขระด้วยผงอะลูมินัมออกไซด์และทาสารยึดติดแอดเปอร์สกอตช์บอนด์เอสอี, กลุ่มที่ 5: ทาสารยึดติดแอดเปอร์สกอตช์บอนด์เอสอี, กลุ่มที่ 6: ทำผิวให้ขรุขระด้วยหัวกรอเพชรและทาสารยึดติดแอดเปอร์สกอตช์บอนด์มัลติเพอร์เพอร์ส, กลุ่มที่ 7: ทำผิวให้ขรุขระด้วยผงอะลูมินัมออกไซด์และทาสารยึดติดแอดเปอร์สกอตช์บอนด์มัลติเพอร์เพอร์ส, กลุ่มที่ 8: ทาสารยึดติดแอดเปอร์สกอตช์บอนด์มัลติเพอร์เพอร์ส, กลุ่มที่ 9: ไม่ทำการเตรียมผิวคอมโพสิต และกลุ่มที่ 10: เป็นกลุ่มควบคุมโดยเตรียมชิ้นทดสอบจากคอมโพสิตเป็นทรงกระบอก (ø 5 มม X 8 มม) ชิ้นทดสอบทั้งหมดถูกเก็บไว้ในน้ำปราศจากประจุเป็นเวลา 24 ชม. ก่อนนำไปทดสอบหาความแข็งแรงเฉือนของการยึดติดในเครื่องทดสอบสากล ผลการทดลองได้รับการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบเชฟเฟ่ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% การเตรียมพื้นผิวให้ค่าความแข็งของการยึดติดเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ กลุ่มที่ 3 > กลุ่มที่ 4 > กลุ่มที่ 6 > กลุ่มที่ 7 > กลุ่มที่ 5 > กลุ่มที่ 8  โดยกลุ่มที่ 1, 2, และ 9 ไม่เกิดการยึดติดระหว่างคอมโพสิตเก่าและใหม่ ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าควรต้องทำการเตรียมพื้นผิวของคอมโพสิตเก่าและต้องทาสารยึดติดเสมอก่อนทำการยึดติดกับชั้นคอมโพสิตใหม่ ในการศึกษานี้การทำพื้นผิวให้ขรุขระด้วยหัวกรอเพชรและทาสารยึดติดแอดเปอร์สกอตช์บอนด์เอสอีให้ค่าความแข็งแรงเฉือนของการยึดติดสูงสุด และมีค่าใกล้เคียงกับค่าความแข็งแรงดั้งเดิมของวัสดุ คำสำคัญ: เรซินคอมโพสิต, การซ่อมแซม, ความแข็งแรงเฉือนของการยึดติด, สารยึดติด, การเตรียมพื้นผิว

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ภาวิณีย์ ปฎิพัทธ์วุฒิกุล ดิดรอน, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

ผู้ช่วยศาตราจารย์

Downloads

How to Cite

1.
ปฎิพัทธ์วุฒิกุล ดิดรอน ภ. ผลของการเตรียมพื้นผิวต่อความแข็งแรงของการยึดติดของนาโนคอมโพสิต. SWU Dent J. [Internet]. 2015 Mar. 27 [cited 2025 Jan. 22];6(2):12-23. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4471

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)