ผลของความหนาของเซรามิกกลุ่มลิเทียมไดซิลิเกต สีของซีเมนต์ และวัสดุทำหลักยึดรากเทียมต่อสีของชิ้นงานบูรณะ
Keywords:
ลิเทียมไดซิลิเกต, สีของซีเมนต์, วัสดุทำหลักยึดรากเทียม, ค่าความแตกต่างของสี, Lithium disilicate, Cement color, Implant abutment material, Total color differenceAbstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสีลิเทียมไดซิลิเกตชนิดโปร่งแสงปานกลางหลังบูรณะบนวัสดุทำหลักยึดรากเทียม ร่วมกับเรซินซีเมนต์ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: แบ่งกลุ่มเซรามิก (ความหนา 1.00, 1.50, 2.00 และ 2.50 มิลลิเมตร) วัสดุ หลักยึดรากเทียม (ไทเทเนียม เซอร์โคเนีย ไทเทียมที่ผ่านกระบวนการอะโนไดซ์ 40, 50, 60 และ 70 โวลต์) และซีเมนต์เนกซัสทรี (สีขาว สีขาวทึบ และสีเหลือง) กลุ่มละ 7 ชิ้น โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย วางชิ้นเซรามิกบนวัสดุทำหลักยึดรากเทียม โดยมีซีเมนต์คั่นกลาง วัดสีด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ บันทึกค่าด้วยระบบซีไออี และคำนวณค่าความแตกต่างของสี การวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนและทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยวิธีทดสอบทูกี (α = .05) ผลการทดลอง: ปัจจัยทดสอบทั้งหมดมีผลต่อค่าความแตกต่างของสีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าความ แตกต่างของสีที่น้อยที่สุดคือเซรามิกหนา 2.50 มิลลิเมตรบนเซอร์โคเนียร่วมกับซีเมนต์สีขาวทึบและสีเหลือง(1.41 ± 0.07 และ 1.36 ± 0.13 ตามลำดับ) และไทเทเนียมร่วมกับซีเมนต์สีขาว (2.03 ± 0.16) สรุป: เซอร์โคเนียและไทเทเนียมที่ผ่านกระบวนการอะโนไดซ์ 50 โวลต์สามารถปิดสีหลักยึดรากเทียมเมื่อ บูรณะด้วยเซรามิกหนาตั้งแต่ 1.50 มิลลิเมตรร่วมกับซีเมนต์เนกซัส ทรีสีขาว สีขาวทึบและสีเหลืองให้ค่าความแตกต่างของสีในระดับน้อยกว่า 5.50 > ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 148-163. > SWU Dent J. 2023;16(1): 148-163.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-03-08
How to Cite
1.
พยุงรัตน์ ธ, พลานุเวช ม. ผลของความหนาของเซรามิกกลุ่มลิเทียมไดซิลิเกต สีของซีเมนต์ และวัสดุทำหลักยึดรากเทียมต่อสีของชิ้นงานบูรณะ. SWU Dent J. [Internet]. 2023 Mar. 8 [cited 2025 Feb. 23];16(1):148-63. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15113
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
Copyright (c) 2023 Srinakharinwirot University Dental Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น