ความสามารถในการปิดสีของเซรามิกชนิดลิเทียมไดซิลิเกตแคด/แคมบนพื้นหลังเรซินสีเหมือนฟันที่ต่างกัน

Authors

  • วิทิตา อัครเอกจิตต์ ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • วิบุลย์ ไพศาลกอบฤทธิ์ ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • นทีธร พฤกษ์วัชรกุล ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ณัฐพล กิตติคุณเดชา ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

Keywords:

แคด/แคม, ลิเทียมไดซิลิเกต, ความสามารถในการปิดสี, CAD/CAM, Lithium disilicate, Masking ability

Abstract

จุดประสงค์: เพื่อศึกษาความสามารถในการปิดสีของเซรามิกชนิดลิเทียมไดซิลิเกตแคด/แคม ความโปร่งแสงปานกลาง ที่ความหนาต่าง ๆ บนพื้นหลังเรซินสีเหมือนฟันที่ต่างกัน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ชิ้นงานถูกเตรียมโดยใช้บล็อกไอพีเอสอีแมกซ์แคด ความโปร่งแสงปานกลาง สี A2 แบ่งเป็น 4 กลุ่มตามความหนาแผ่นเซรามิกได้แก่ 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 มิลลิเมตร กลุ่มละ 20 ชิ้น และแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อยตามสีพื้นหลังเรซินสีเหมือนฟันได้แก่ ND3, ND5, ND7 และ ND9 (n = 5) นำแผ่นเซรามิกไปเคลือบผิวและเผา จากนั้นยึดเข้ากับแผ่นเรซินสีเหมือนฟันด้วยเรซินซีเมนต์ชนิดบ่มตัวสองรูปแบบวาริโอลิ้งค์เอสเทติก สีใส วัดค่าสีชิ้นงานด้วยเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ หาค่าการเปลี่ยนแปลงของสีที่มองเห็นโดยเปรียบเทียบกับบล็อกอ้างอิง ทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการจับคู่แบบทูกีย์ โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (p = 0.05) ร่วมกับการใช้เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสีที่สามารถรับรู้ได้และเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสีที่สามารถยอมรับได้ ผลการทดลอง: เซรามิกมีค่าการเปลี่ยนแปลงของสีที่มองเห็นลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อมีความหนาเพิ่มขึ้น โดยมีค่าน้อยที่สุดในกลุ่มความหนา 0.5 มิลลิเมตร และมากที่สุดในกลุ่มความหนา 2.0 มิลลิเมตร พื้นหลังเรซินสีเหมือนฟันสี ND9 ส่งผลให้เซรามิกมีค่าการเปลี่ยนแปลงของสีที่มองเห็นมากที่สุด รองลงมาคือสี ND5, ND3 และ ND7 ตามลำดับ โดยไม่มีกลุ่มความหนาใดเลยที่มีค่าการเปลี่ยนแปลงของสีที่มองเห็นน้อยกว่าเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสีที่สามารถยอมรับได้บนสี ND9 สรุปผล: ความหนาของเซรามิกและสีพื้นหลังส่งผลให้เซรามิกชนิดลิเทียมไดซิลิเกตแคด/แคม ความ โปร่งแสงปานกลาง มีค่าการเปลี่ยนแปลงของสีที่มองเห็นแตกต่างกัน โดยกลุ่มการทดลองส่วนใหญ่มีค่าการเปลี่ยนแปลงของสีที่มองเห็นมากกว่าเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสีที่สามารถยอมรับได้ > ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 118-133. > SWU Dent J. 2023;16(1): 118-133.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2023-03-08

How to Cite

1.
อัครเอกจิตต์ ว, ไพศาลกอบฤทธิ์ ว, พฤกษ์วัชรกุล น, กิตติคุณเดชา ณ. ความสามารถในการปิดสีของเซรามิกชนิดลิเทียมไดซิลิเกตแคด/แคมบนพื้นหลังเรซินสีเหมือนฟันที่ต่างกัน. SWU Dent J. [Internet]. 2023 Mar. 8 [cited 2025 Jan. 2];16(1):118-33. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15111

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)