การเปรียบเทียบความต้านทานความล้าจากการหมุนรอบของไฟล์ นิกเกิลไทเทเนียมชนิดหมุนด้วยเครื่องที่ผลิตด้วยโลหะเอ็มไวร์และ โลหะไฟร์ไวร์
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความต้านทานความล้าจากการหมุนรอบระหว่างไฟล์ที่ผลิตด้วยโลหะเอ็มไวร์และโลหะไฟร์ไวร์วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ทำการศึกษาด้วยอุปกรณ์ทดสอบความล้าจากการหมุนรอบแบบคลองรากฟันจำลองที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง ใช้ไฟล์ที่ผลิตด้วยโลหะเอ็มไวร์และโลหะไฟร์ไวร์ ขนาดเอ็กซ์ทูอย่างละ 15 ตัว ทำการบันทึกภาพเคลื่อนไหวการหมุนของไฟล์ภายในคลองรากฟันจำลองจนกระทั่งหัก บันทึกเวลาที่ไฟล์หมุนก่อนหักเพื่อนำไปคูณกับความเร็วรอบคำนวณเป็นจำนวนรอบการหมุนก่อนหัก เปรียบเทียบข้อมูลด้วยการทดสอบที (Independent t-test) ที่ระดับนัยสำคัญน้อยกว่า 0.05 นำส่วนปลายของไฟล์ที่หักมาวัดความยาว และสำรวจพื้นผิวรอยหักด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดเพื่อวิเคราะห์กลไกการหักที่เกิดขึ้น ผลการศึกษา: ไฟล์ที่ผลิตด้วยโลหะไฟร์ไวร์มีจำนวนรอบการหมุนก่อนหักสูงกว่าไฟล์ที่ผลิตด้วยโลหะเอ็มไวร์อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนของไฟล์ที่หักมีความยาวไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) และภาพพื้นผิวรอยหักของไฟล์ทุกตัวแสดงการแตกหักในรูปแบบกลไกการหักด้วยความล้าจากการหมุนรอบสรุป: ภายใต้สถานการณ์ของการทดสอบนี้ไฟล์นิกเกิลไทเทเนียมชนิดหมุนด้วยเครื่องที่ผลิตด้วยโลหะไฟร์ไวร์มีความต้านทานความล้าจากการหมุนรอบสูงกว่าไฟล์นิกเกิลไทเทเนียมชนิดหมุนด้วยเครื่องที่ผลิตด้วยโลหะเอ็มไวร์ และคลองรากฟันจำลองที่ประดิษฐ์ขึ้นสามารถใช้ทดสอบความต้านทานความล้าจากการหมุนรอบของไฟล์นิกเกิลไทเทเนียมชนิดหมุนด้วยเครื่องได้จริงคำสำคัญ: ความต้านทานความล้าจากการหมุนรอบ กระบวนการทางความร้อน ไฟล์นิกเกิลไทเทเนียม ว.ทันต.มศว ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2565 หน้า 53-62.SWU Dent J. 2022;15(2):53-62.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-06-01
How to Cite
1.
แก้วอำไพ ว, ปิยะชน ช. การเปรียบเทียบความต้านทานความล้าจากการหมุนรอบของไฟล์ นิกเกิลไทเทเนียมชนิดหมุนด้วยเครื่องที่ผลิตด้วยโลหะเอ็มไวร์และ โลหะไฟร์ไวร์. SWU Dent J. [Internet]. 2022 Jun. 1 [cited 2024 Nov. 19];15(2):53-62. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/14472
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น