ความแนบสนิทของขอบวัสดุแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์สองชนิดหลัง จากการปนเปื้อนเลือดในแบบจำลองการอุดย้อนปลายรากฟัน

Authors

  • ภานุมาศ วันเปื้ย ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • จารุมา ศักดิ์ดี ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • สุวิทย์ วิมลจิตต์ ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

Abstract

บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแนบสนิทของขอบวัสดุกับเนื้อฟันของวัสดุแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์สองชนิดที่มีการปนเปื้อนเลือดในแบบจำ�ลองการอุดย้อนปลายรากฟันวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ฟันกรามน้อยล่างรากเดียวจำ�นวน 60 ซี่ ตัดส่วนตัวฟันออก เตรียมคลองรากฟันและอุดด้วยกัตตาเปอร์ชา ตัดปลายรากฟันออก 3 มิลลิเมตรและกรอย้อนปลายรากฟันลึก 3 มิลลิเมตร สุ่มแบ่งฟันออกเป็น 6 กลุ่ม โดย 3 กลุ่มอุดย้อนปลายรากฟันด้วยไบโอเดนทีน และอีก 3 กลุ่มอุดย้อนปลายรากฟันด้วยเรโทรเอ็มทีเอ ภายใต้สภาวะการปนเปื้อนที่แตกต่างกันคือ การปนเปื้อนเลือดบนผนังคลองรากฟันและ/หรือการปนเปื้อนพื้นผิววัสดุภายนอกด้วยเลือดหรือสารจำ�ลองของเหลวในร่างกาย หลังจากปนเปื้อนเป็นระยะเวลา7 วัน จะทำ�การวัดความกว้างและความยาวช่องว่างระหว่างขอบวัสดุกับผนังคลองรากฟันด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด วิเคราะห์ความแตกต่างของข้อมูลด้วยสถิติทดสอบฟรีดแมนและเปรียบเทียบพหุคูณด้วยสถิติทูคี่เอชเอสดี ที่ระดับนัยสำ�คัญ 0.05ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยความกว้างและความยาวช่องว่างระหว่างขอบวัสดุกับเนื้อฟันของแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติ โดยกลุ่มที่อุดย้อนปลายรากฟันด้วยไบโอเดนทีนและมีการปนเปื้อนเลือดบนผนังคลองรากฟันมีความกว้างและความยาวช่องว่างได้มากที่สุด (8.55 ± 5.88 และ 128.28 ± 69.5ไมโครเมตร ตามลำ�ดับ)สรุป: การปนเปื้อนเลือดส่งผลให้วัสดุแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์สองชนิดมีความแนบสนิทของขอบแตกต่างกัน โดยในกลุ่มไบโอเดนทีน การปนเปื้อนเลือดบนพื้นผิวสองด้านจะเกิดช่องว่างได้มากกว่าการปนเปื้อนเลือดบนพื้นผิวด้านเดียว ในขณะที่กลุ่มเรโทรเอ็มทีเอไม่มีความแตกต่างกันคำ�สำ�คัญ: ความแนบสนิทของขอบ ศัลยกรรมเอ็นโดดอนติก แคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ การปนเปื้อนเลือด เรโทรเอ็มทีเอ ไบโอเดนทีนว.ทันต.มศว ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2565 หน้า 39-52. SWU Dent J. 2022;15(2):39-52.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ภานุมาศ วันเปื้ย, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

ทพ.

จารุมา ศักดิ์ดี, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

อ.ดร.ทพญ.

สุวิทย์ วิมลจิตต์, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

ผศ.ทพ.

Downloads

Published

2022-07-01

How to Cite

1.
วันเปื้ย ภ, ศักดิ์ดี จ, วิมลจิตต์ ส. ความแนบสนิทของขอบวัสดุแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์สองชนิดหลัง จากการปนเปื้อนเลือดในแบบจำลองการอุดย้อนปลายรากฟัน. SWU Dent J. [Internet]. 2022 Jul. 1 [cited 2024 Nov. 19];15(2):39-52. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/14471

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)