ความสัมพันธ์ระหว่างโรคปริทันต์ของมารดาหลังคลอดและภาวะ คลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลนางรอง

Authors

  • ภัทชาวรรณ แป้นรินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • จามรี เสมา ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

Abstract

ภาวะคลอดก่อนกำหนดเป็นหนึ่งในภาวะไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งมีความสอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่พบว่าโรคปริทันต์อักเสบเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของภาวะคลอดก่อนกำหนดวัตถุประสงค์: การวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคปริทันต์ของมารดาหลังคลอดและภาวะคลอดก่อนกำหนดในมารดาที่มาฝากครรภ์และคลอดบุตรในโรงพยาบาลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้หลักเกณฑ์การจำแนกโรคปริทันต์แบบใหม่ในปี 2018 (Classification of AAP 2018)วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: อาสาสมัคร 100 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มมารดาที่คลอดอายุครรภ์ปกติจำนวน 50 คน และกลุ่มมารดาที่ทารกคลอดก่อนกำหนด (อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์) จำนวน 50 คน ทั้ง 2กลุ่มได้รับการเก็บข้อมูลพื้นฐาน ตรวจสภาวะปริทันต์ และตรวจทางภาพรังสีเพิ่มเติมในกรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ด้วยภาพรังสีปริทัศน์ (panoramic radiograph) เพื่อนำไปประกอบการวินิจฉัยโรคปริทันต์อักเสบผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่ากลุ่มมารดาที่ทารกคลอดก่อนกำหนด มีค่าร้อยละดัชนีการเลือดออกของเหงือกและจำนวนตำแหน่งที่มีร่องลึกปริทันต์เริ่มต้นเท่ากับหรือมากกว่า 5 มิลลิเมตรขึ้นไป มากกว่ากลุ่มมารดาที่คลอดอายุครรภ์ปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และเมื่อนำการวินิจฉัยโรคปริทันต์รูปแบบใหม่ปี 2018มาใช้ พบว่าทั้ง 2 กลุ่ม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ทั้งการแบ่งสภาวะโรคปริทันต์เป็นแบบ 3 กลุ่ม คือ สภาวะปริทันต์ปกติ โรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์อักเสบ และการแบ่งโรคปริทันต์อักเสบตามระดับความรุนแรงและระดับการลุกลามสรุป: โรคปริทันต์ในมารดาหลังคลอดสัมพันธ์กับภาวะทารกคลอดก่อนกำหนด และมารดาที่ทารกคลอดก่อนกำหนดพบว่ามีขอบเขตและความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบมากกว่ากลุ่มมารดาที่คลอดอายุครรภ์ปกติตามหลักเกณฑ์การจำแนกโรคปริทันต์รูปแบบใหม่ปี 2018คำสำคัญ: โรคปริทันต์อักเสบ การจำแนกโรคปริทันต์รูปแบบใหม่ตามหลักเกณฑ์การจำแนกโรคปริทันต์ปี 2018ภาวะคลอดก่อนกำหนด ผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์ The Association Between Maternal Periodontal Diseases inPostpartum Period and Preterm Birth in Nangrong HospitalPatchawan Panrin  Narongsak Laosrisin  Jamaree SemaAbstractPreterm birth is the most adverse effect of pregnancy. According to reviewed researches thatperiodontitis was considered to be one of the risk factors of preterm birth.Objective: This current study aims to assess the relationship between maternal periodontaldisease and preterm birth at Nangrong Hospital in Nang Rong, Buriram, and using the new 2018AAP classification.Materials and Methods: There were 100 participants, divided into two groups: 50 participantsin each control group and a preterm birth group. The demographic data, periodontal status examination,and additional radiographic examination of participants with periodontitis were collected from allparticipants.Results: The results of the bleeding on probing index and the number of sites of pocketdepth (PD) ≥ 5 mm of the preterm birth group were significantly higher than the control group(p < 0.05). With regard to the new 2018 AAP classification of periodontal status and periodontitisclassification, based on multidimensional staging and grading, were significantly different betweenthe two groups (p < 0.05).Conclusions: Maternal periodontal disease is associated with preterm births. Furthermore,the extent and severity of periodontitis in mothers with preterm births were higher than mothers withfull-term births regarding to the new 2018 AAP classification.Keywords: Periodontitis, New 2018 AAP classification, Preterm births, Adverse pregnancy outcomes ว.ทันต.มศว ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2565 หน้า 59-72. SWU Dent J. 2021;15(1):59-72.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ภัทชาวรรณ แป้นรินทร์, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

ทพญ.

ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

รศ.ดร.ทพ.

จามรี เสมา, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

อ.ทพญ.

Downloads

Published

2022-04-01

How to Cite

1.
แป้นรินทร์ ภ, เหล่าศรีสิน ณ, เสมา จ. ความสัมพันธ์ระหว่างโรคปริทันต์ของมารดาหลังคลอดและภาวะ คลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลนางรอง. SWU Dent J. [Internet]. 2022 Apr. 1 [cited 2025 Jan. 22];15(1):59-72. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/14310

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)