รูปแบบพฤติกรรมของอาจารย์ทันตแพทย์ที่ส่งเสริมพฤติกรรมเชิง บวกของนักศึกษาหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์: การศึกษาเชิงคุณภาพ
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อค้นหารูปแบบพฤติกรรมของอาจารย์ทันตแพทย์ที่ส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวกของนักศึกษาทันตแพทย์วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพนี้เป็นทันตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาในปี 2560-2561 จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 19 คน การรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ของพฤติกรรมอาจารย์ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้นขณะเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ในระดับชั้นคลินิก การวิเคราะห์บทสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์รูปแบบและรหัสสำคัญผลการศึกษา: พฤติกรรมของอาจารย์ที่กระทำต่อนักศึกษาและเป็นพฤติกรรมหลักที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางบวกของนักศึกษาได้ มี 5 รูปแบบ คือ การสอนและแนะนำเกี่ยวกับวิชาชีพ เอาใจใส่ ช่วยเหลือยิ้มแย้ม ชื่นชม และเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งพฤติกรรมเชิงบวกดังกล่าวของอาจารย์ส่งผลให้นักศึกษามีการเตรียมตัวที่ดีขึ้นก่อนลงปฏิบัติงานในคลินิก การดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง การปฏิบัติงานในคลินิกที่ดีขึ้น และมีความกระตือรือร้นนอกจากนี้ การแสดงพฤติกรรมทางลบของอาจารย์ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นพฤติกรรมเชิงบวก โดยการที่อาจารย์ตำหนิก่อนการสอน และ ตามมาด้วยการให้แนะนำเกี่ยวกับวิชาชีพ หรือแสดงถึงการเอาใจใส่ ช่วยเหลือก็ยังคงส่งผลบวกในเชิงพฤติกรรมของนักศึกษาได้สรุป: พฤติกรรมเชิงบวกของอาจารย์ในระหว่างการเรียนการสอนในคลินิก ทำให้นักศึกษาเกิดความรู้สึกด้านดี ซึ่งมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นพฤติกรรมเชิงบวก ซึ่งการเป็นต้นแบบคือการสอนทัศนคติในวิชาชีพที่เกิดขึ้นตลอดเวลาระหว่างการปฏิสัมพันธ์กันของอาจารย์และนักศึกษาทันตแพทย์คำสำคัญ: ความรู้สึก นักศึกษาทันตแพทย์ พฤติกรรม Behavior Pattern of Dental Clinical Teacher that PromotePositive Behavior of Dental Students, Prince of SongklaUniversity: A Qualitative StudyJanpim Hintao Aunwaya Kaewpitak Kotchaporn Chuaichu Narueporn JongjingwongThipok Laohaareedilok Sirawit EkvilaiAbstractObjective: To explored behavior pattern of dental clinical teacher that promote positivebehavior of dental students.Material and Methods: The informants in this qualitative study were 19 alumni who graduatedin 2018–2019, from Faculty of Dentistry, Prince of Songkla University. Data were collected byusing in-depth interviewing focused on the promoted positive behavior of clinical dental students byteachers’ behaviors. Thematic analysis was conducted.Results: There were 5 themes of clinical teachers that could promote positive behaviorof dental students that were teachings and advice relating to the profession, act of caring andhelpfulness, smiles and other forms of friendliness, words of encouragement, and consultable.Positive changes of dental students’ performance included better preparation before clinical sessions,development of patient-centric and enthusiastic attitude, and better clinical performance. Moreover,some negative behaviors of dental teachers could promote positive outcome of students if the staffskept teaching and giving advices relating to the profession or acted of caring and helpfulness.Conclusion: Positive behaviors of dental staffs could induce positive mentalities of dentalstudents. Therefore, these could promote positive behaviors of them. Since, the role-modellingeffects were occurred over time during the interactions between teacher and student.Keywords: Feeling, Dental student, Behavior.*ว.ทันต.มศว ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2564 หน้า 35-47.SWU Dent J. 2021;14(2):35-47.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-11-30
How to Cite
1.
หินเทาว์ จ, แก้วพิทักษ์ อ, ช่วยชู ก, จงจริงวงศ์ น, เลาหอารีดิลก ธ, เอกวิลัย ส. รูปแบบพฤติกรรมของอาจารย์ทันตแพทย์ที่ส่งเสริมพฤติกรรมเชิง บวกของนักศึกษาหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์: การศึกษาเชิงคุณภาพ. SWU Dent J. [Internet]. 2021 Nov. 30 [cited 2024 Nov. 18];14(2):35-47. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/13985
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น