ความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้เรื่องโภชนาการกับพฤติกรรม การบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในจังหวัดนครนายก
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: ศึกษาความสัมพันธ์ด้านปัจจัยการตระหนักรู้เรื่องโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ จังหวัดนครนายกวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์จากแบบสอบถามประเด็นการตระหนักรู้ด้านโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทีเทสแบบเป็นอิสระต่อกัน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและ สหสัมพันธ์เพียรสัน ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95ผลการทดลอง: ประชากร 263 คน (ช่วงอายุ 60 ถึง 94 ปี มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 70.20 ± 0.5 ปี) เป็นเพศชาย93 คน (35.40%) และเพศหญิง 170 คน (64.60%) ปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักรู้เรื่องโภชนาการ แสดงระดับความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.70-0.71 และพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ที่ 0.73 นอกจากนี้ความตระหนักรู้ทางด้านอารมณ์ (r = 0.32, p < 0.01) โดยความตระหนักรู้ด้านการประเมินค่าตนเองอย่างแม่นยำ (r = 0.26,p < 0.01) และ ความตระหนักรู้ด้านความมั่นใจในตนเอง (r = 0.33, p < 0.01) เป็นปัจจัยสำคัญที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุปผล: ความตระหนักรู้ทางด้านอารมณ์ ความตระหนักรู้ทางด้านการประเมินค่าตนเองอย่างแม่นยำและความตระหนักรู้ทางด้านความมั่นใจในตนเอง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร กล่าวคือยิ่งผู้สูงอายุมีความตระหนักรู้ส่วนบุคคลเรื่องโภชนาการในระดับสูงจะเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสมคำสำคัญ: ผู้สูงอายุ การตระหนักรู้เรื่องโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร Correlation Between Nutritional Awareness and FoodConsumption Behaviors of The Elderly in Nakhon NayokProvinceSerena S. Sakoolnamarka Kritsada Lawprasert Siwakorn Larpjitkusol Thawatchai Srikan Sahapat Chuayboon Sorasun RungsitanontAbstractObjective: To study the correlating factors between personal nutritional awareness and foodconsumption behaviors of the elderly in Nakhon Nayok province.Material and Method: Data collected by using a questionnaire in the theme about factorsinfluencing nutritional awareness and food consumption behaviors. Data were analyzed by independentt-test, one-way ANOVA and Pearson Correlation with statistical significance at p < 0.05.Results: There were 263 included with the age range from 60 to 94 years old (mean age = 70.20 ± 0.5). There were 93 males (35.40%) and 170 females (64.60%). The factors influencingnutritional awareness showed reliability statistics between 0.70-0.71, and the food consumptionbehaviors showed reliability statistics at 0.73. Moreover, result showed emotional awareness (r = 0.32,p < 0.01), accurate self-assessment (r = 0.26, p < 0.01) and self-confidence (r = 0.33, p < 0.01) werepositively correlated with food consumption behaviors significantly.Conclusion: The emotional awareness, accurate self-assessment, and self-confidence werepositively correlated with food consumption behaviors. The elderly who had higher personal awarenesswere more likely to have proper food consumption behaviors.Keyword: Elderly, Food consumption behaviors, Nutritional awareness ว.ทันต.มศว ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2564 หน้า 64-80.SWU Dent J. 2021;14(1):64-80.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
สิรรัตน์ สกุลณะมรรคา เ, ล้อประเสริฐ ก, ลาภจิตรกุศล ศ, ศรีกาญจน์ ธ, ช่วยบุญ ส, รังสิยานนท์ ส. ความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้เรื่องโภชนาการกับพฤติกรรม การบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในจังหวัดนครนายก. SWU Dent J. [Internet]. 2021 May 24 [cited 2024 Dec. 22];14(1):64-80. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/13426
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น