การเปรียบเทียบความโค้งผิวฟันด้านแก้มของฟันกรามน้อยบนของกลุ่มตัวอย่างคนไทยกับความโค้งพื้นผิวฐานแบร็กเกตเชิงพาณิชย์โดยการสแกนสามมิติ
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อหาความโค้งผิวฟันด้านแก้มเฉลี่ยของฟันกรามน้อยบนในกลุ่มตัวอย่างคนไทยโดยการสแกนสามมิติ และเปรียบเทียบกับความโค้งพื้นผิวของฐานแบร็กเกตเชิงพาณิชย์วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ฟันกรามน้อยบน 40 ซี่จากกลุ่มตัวอย่างคนไทยถูกสแกนด้วยเครื่องสแกนในช่องปาก (CEREC Omnicam; Dentsply Sirona, Germany) และตัดพื้นผิวความโค้งด้านแก้มขนาด 4 x 4 ตารางมิลลิเมตร นำมาเฉลี่ยเป็นตัวแทนความโค้งผิวฟันด้านแก้มของฟันกรามน้อยบนของคนไทย ทำการสแกนแบร็กเกตเชิงพาณิชย์ของฟันกรามน้อยบน (Clarity Advanced™, 3M Unitek, USA) ด้วยเครื่องไมโครซีที(Micro CT μ35, Scanco Medical, Switzerland) ประมวลภาพดังกล่าวเป็นภาพสามมิติด้วยโปรแกรมประมวลภาพ(3Dslicer, BSD-style, USA) ได้เป็นความโค้งพื้นผิวของฐานแบร็กเกต จากนั้น คำนวณพื้นผิวความโค้งที่ได้ทั้งสองและแสดงเป็นสมการหลายตัวแปรด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (MATLAB, Mathworks, USA) สร้างโมเดลสามมิติของพื้นผิวทั้งสอง ทำการซ้อนทับที่จุดกึ่งกลาง และเปรียบเทียบระหว่างความโค้งพื้นผิวฐานแบร็กเก็ตเชิงพาณิชย์กับความโค้งผิวฟันด้านแก้มเฉลี่ยของคนไทยผลการศึกษา: จากการสร้างสมการ 3 ตัวแปรของความโค้งผิวฟันด้านแก้มเฉลี่ยของฟันกรามน้อยบนและความโค้งพื้นผิวฐานแบร็กเกตเชิงพาณิชย์ พบว่ามีความแตกต่างเฉลี่ยระหว่างสองพื้นผิวเท่ากับ 0.0078 มิลลิเมตรโดยมีค่าตั้งแต่ -0.1962 มม. จนถึง 0.0756 มม. โดยมีความแตกต่างในแนวบดเคี้ยว-เหงือกมากกว่าแนวใกล้กลาง-ไกลกลางสรุป: ความโค้งผิวฟันด้านแก้มเฉลี่ยของฟันกรามน้อยบนของกลุ่มตัวอย่างคนไทยมีความโค้งน้อยกว่าความโค้งพื้นผิวของฐานแบร็กเกตเชิงพาณิชย์และพบความแตกต่างในแนวบดเคี้ยว-เหงือกมากกว่าใกล้กลาง-ไกลกลางคำสำคัญ: ความโค้งผิวฟันด้านแก้ม ฐานแบร็กเกต ฟันกรามน้อยบน กลุ่มตัวอย่างคนไทย Comparison of Buccal Surface Curvature of Maxillary Premolarsof Thai Samples and Commercial Bracket Base Surface Curvatureby Three-Dimensional ScanningWarut Thonggerd Thanakorn Wasanapiarnpong Pavinee Padipatvuthikul Didron Nonglak SombunthamAbstractObjectives: To find averaged buccal surface curvature of upper premolars in Thai samples bythree-dimensional scanning and compare with surface curvature of a commercial bracket base.Materials and Methods: Buccal surface of 40 upper premolars from Thai samples werescanned with an intraoral scanner (CEREC Omnicam; Dentsply Sirona, Germany) and averaged torepresent the buccal surface curvature of premolars of Thai samples based on area of 4 x 4 sq.mmAn upper premolar commercial bracket (Clarity Advanced™, 3M Unitek, USA) was scanned by aMicro CT (Micro CT μ35, Scanco Medical, Switzerland). A 3D picture of the commercial bracket wasgenerated by a software (3Dslicer, BSD-style, USA) to represent commercial bracket base. Multivariatedequations of both surface curvatures were calculated and used to generate 3D modelsand then superimposed at the centroid. The surface curvature of the commercial bracket base wascompared to the averaged buccal surface curvature of upper premolars of Thai samples.Results: From the tri-variated equations, the mean difference error between averaged buccalsurface curvature of upper premolars and the surface curvature of the commercial bracket base was0.0078 mm with the range from -0.1962 to 0.0756 mm with difference more on occluso-gingival thanmesio-distal dimension.Conclusion: Averaged buccal surface curvature of upper premolars in Thai samples was lesscurved than the surface curvature of the commercial bracket base. The difference was found to bemore on occluso-gingival than mesio-distal dimension.Keyword: Buccal surface curvature, Bracket base, Maxillary premolar, Thai samples ว.ทันต.มศว ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2564 หน้า 39-50.SWU Dent J. 2021;14(1):39-50.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
ทองเกิด ว, วาสนาเพียรพงศ์ ธ, ปฎิพัทธ์วุฒิกุล ดิดรอน ภ, สมบุญธรรม น. การเปรียบเทียบความโค้งผิวฟันด้านแก้มของฟันกรามน้อยบนของกลุ่มตัวอย่างคนไทยกับความโค้งพื้นผิวฐานแบร็กเกตเชิงพาณิชย์โดยการสแกนสามมิติ. SWU Dent J. [Internet]. 2021 May 24 [cited 2024 Dec. 22];14(1):39-50. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/13422
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น