ปริมาณเชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิสในคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือก นํ้าลาย และซีรัมแอนติบอดีต่อเชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิส ภายหลังการเกลารากฟันด้วยเครื่องอัลตราโซนิกทั้งปากคราวเดียวเสร็จในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วย
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการรักษาโรคปริทันต์ต่อปริมาณเชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิสในคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือก น้ำลาย และระดับซีรัมแอนติบอดีต่อเชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิสในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วยวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: อาสาสมัครทั้งหมด 57 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วย 27 ราย และผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบที่ไม่มีโรคประจำตัว 30 ราย ได้รับรักษาโดยการเกลารากฟันทั้งปากคราวเดียวเสร็จด้วยเครื่องอัลตราโซนิก ตรวจวัดปริมาณเชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิสในคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือกและน้ำลายด้วยเทคนิคเรียลไทม์พีซีอาร์ และวัดระดับซีรัมแอนติบอดีต่อเชื้อด้วยเทคนิคอีไลซาทั้งก่อน และหลังรักษา 3 และ 6 เดือนผลการทดลอง: สภาวะปริทันต์ทางคลินิกมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น และมีการลดลงของปริมาณเชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิสในคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือกอย่างมีนัยสำคัญหลังการรักษาในทั้งสองกลุ่ม โดยในกลุ่มที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วย ปริมาณเชื้อในน้ำลาย และระดับซีรัมแอนติบอดีต่อเชื้อพอร์ไฟโรโมแนสจิงจิวาลิสลดลงหลังได้รับการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป: การเกลารากฟันทั้งปากคราวเดียวเสร็จด้วยเครื่องอัลตราโซนิก ส่งผลให้ปริมาณเชื้อพอร์ไฟโรโมแนสจิงจิวาลิสในคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือก ในน้ำลาย และระดับซีรัมแอนติบอดีต่อเชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิสลดลงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วยคำสำคัญ: ปริทันต์บำบัดคราวเดียวเสร็จ เชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิส แอนติบอดีต่อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิสโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคปริทันต์อักเสบLevels of Porphyromonas gingivalis in Subgingival Plaque, Saliva and Serum Anti-Pg Antibody Titers after a Single-VisitFull-Mouth Ultrasonic Root Planing in Patients with Periodontitisand Cardiovascular DiseasesNuchada Sinprasertrat Narongsak Laosrisin Chuencheewit Thongsiri Rungtiwa Srisuwantha Yotin LerdrattanasakulchaiAbstractObjective: To investigate the effects of a single-visit full-mouth ultrasonic root planing onserum antibody levels against Porphyromonas gingivalis and levels of P. gingivalis in subgingivalplaque and saliva in periodontitis patients with cardiovascular diseases.Materials and Methods: Fifty-seven patients, which were twenty-seven periodontitis patientswith cardiovascular diseases (Perio-CVD group) and thirty periodontitis patients with no knownunderlying health conditions (Perio group), were received a single-visit full-mouth ultrasonic rootplaning. P. gingivalis (Pg) in subgingival plaque and saliva were determined by quantitative real-timepolymerase chain reaction, and serum anti-Pg antibody titers were measured by enzyme-linkedimmunosorbent assay. The data were collected at the baseline and then at three and at six monthsafter treatment.Results: Clinical periodontal status significantly improved and P. gingivalis in subgingivalplaque were significantly reduced after periodontal treatment in both groups. P. gingivalis in salivaand serum anti-Pg antibody titers were significantly reduced in patients with periodontitis andcardiovascular diseases.Conclusions: A single-visit full-mouth ultrasonic root planing significantly reduced P. gingivalis in subgingival plaque and saliva and serum anti-Pg antibody titers in periodontitis patients withcardiovascular diseases.Keywords: One visit periodontal treatment, Porphyromonas gingivalis, Anti-Pg antibody, Cardiovasculardisease, Periodontitis ว.ทันต.มศว ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2564 หน้า 25-38. SWU Dent J. 2021;14(1):25-38.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
สินประเสริฐรัตน์ น, เหล่าศรีสิน ณ, ทองศิริ ช, ศรีสุวรรณฑา ร, เลิศรัตนสกุลชัย โ. ปริมาณเชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิสในคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือก นํ้าลาย และซีรัมแอนติบอดีต่อเชื้อพอร์ไฟโรโมแนส จิงจิวาลิส ภายหลังการเกลารากฟันด้วยเครื่องอัลตราโซนิกทั้งปากคราวเดียวเสร็จในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วย. SWU Dent J. [Internet]. 2021 May 24 [cited 2024 Dec. 22];14(1):25-38. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/13421
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น