การศึกษาการเปลี่ยนแปลงความยาวของรากฟันตัดในผู้ป่วยจัดฟันชนิดติดแน่น
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความยาวรากฟันและรูปร่างของรากฟันตัดบนซี่กลาง ฟันตัดบนซี่ข้าง ฟันตัดล่างซี่กลาง และฟันตัดล่างซี่ข้าง ในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่นในระยะก่อนการรักษา (T1) ระยะการปรับระดับฟันและการเรียงตัวของฟัน (T2) ระยะการดึงฟันเขี้ยว (T3) และระยะการดึงฟันตัด (T4)วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยฟันตัดจำนวน 216 ซี่ โดยแบ่งเป็นกลุ่มฟันตัดบนซี่กลาง ฟันตัดบนซี่ข้าง ฟันตัดล่างซี่กลาง และฟันตัดล่างซี่ข้าง จากผู้ป่วย 27 คน (ชาย 4 คน และหญิง 23 คน)ที่มีอายุระหว่าง 12-32 ปี และดำเนินการเก็บข้อมูลความยาวรากฟันและรูปร่างของรากฟันจากภาพรังสีรอบปลายรากแบบดิจิตอลด้วยเทคนิคการถ่ายแบบขนานในระยะก่อนการรักษา (T1) ระยะการปรับระดับฟันและการเรียงตัวของฟัน (T2) ระยะการดึงฟันเขี้ยว (T3) และระยะการดึงฟันตัด (T4ผลการศึกษา: ความยาวของรากฟันตัดเกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกระยะของการรักษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยพบการสูญสลายของรากฟันมากที่สุดในระยะการดึงฟันตัด ตำแหน่งฟันตัดบนมีเปลี่ยนแปลงความยาวของรากฟันมากแต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ระหว่างฟันตัดบนซี่กลางและฟันตัดบนซี่ข้าง นอกจากนี้รูปร่างของรากฟันแบบงอบริเวณส่วนปลายและแบบปิเปตพบการเปลี่ยนแปลงความยาวของรากฟันมากแต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05)สรุป: การศึกษานี้แสดงถึงการสูญสลายของรากฟันภายหลังการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกระยะของการรักษาโดยควรมีความระมัดระวังในระยะการดึงฟันตัดตำแหน่งฟันตัดบน และฟันที่มีรูปร่างของรากฟันแบบงอบริเวณส่วนปลายและแบบปิเปตคำสำคัญ: การสูญสลายของรากฟันภายหลังการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ความยาวรากฟัน ทันตกรรมจัดฟัน The Study of Incisor Root–length Change in Fixed OrthodonticPatientsAraya Thareejaru Pholpittaya VorachartAbstractObjective: To study the root length change and root shape of the maxillary central incisors,maxillary lateral incisors, mandibular central incisors, and mandibular lateral incisors in fixedorthodontic patients before treatment (T1), leveling and alignment stage (T2), canine retraction stage(T3), and incisor retraction stage (T4).Materials and methods: The sample comprised 216 incisors which divided into maxillarycentral incisors, maxillary lateral incisors, mandibular central incisors, and mandibular lateral incisorsin 27 patients (4 males, 23 females) aged 12-32 years. The root length was measured and rootshape was recorded from digitized periapical radiographs taken before treatment (T1), leveling andalignment stage (T2), canine retraction stage (T3), and incisor retraction stage (T4).Results: The incisor root-length change occurred statistically significant difference (p < 0.05)in every stage of treatment. The maximum amount of resorption was found in the incisor retractionstage. Maxillary incisors were the most resorbed teeth with no statistically significant differences(p > 0.05) between maxillary central and lateral incisors. Moreover, There was a high degree of rootresorption in teeth with apical bend and pipette-shaped apices but without statistically significantdifferences (p > 0.05).Conclusions: This study showed that orthodontically induced inflammatory root resorptioncan occur in every stage of the treatment. Care must be taken in incisor retraction stage, maxillaryincisors, and teeth with apical bend and pipette-shaped apices.Keywords: Orthodontically induced inflammatory root resorption, Root length, Orthodontics.ว.ทันต.มศว ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2564 หน้า 10-24.SWU Dent J. 2021;14(2):10-24.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-11-30
How to Cite
1.
ธารีจารุ อ, วรชาติ พ. การศึกษาการเปลี่ยนแปลงความยาวของรากฟันตัดในผู้ป่วยจัดฟันชนิดติดแน่น. SWU Dent J. [Internet]. 2021 Nov. 30 [cited 2024 Nov. 18];14(2):10-24. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/13352
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น