ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของ ผู้ป่วยทันตกรรมจัดฟันที่มารับการรักษาในกรุงเทพมหานคร
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยทันตกรรมจัดฟันในเขตกรุงเทพมหานครวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ครั้งนี้เก็บข้อมูลจากผู้ป่วย 300 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเป็นผู้ป่วย ทางทันตกรรมจัดฟันแบบติดแน่นตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปที่มารับการรักษาในกรุงเทพมหานคร ด้วยแบบสอบถามเพื่อวัดพฤติกรรมการดูแลตนเอง ประกอบด้วย พฤติกรรมการให้ความร่วมมือในการรักษา พฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการดูแลความสะอาดช่องปากและปัจจัยทางจิตสังคม ประกอบด้วย ความรู้ เจตคติที่ดีต่อการจัดฟัน การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง การควบคุมตนเอง ความคาดหวังในประสิทธิภาพการรักษา และปัจจัยสนับสนุนทางสังคม มีค่า Cronbach’s Alpha อยู่ระหว่าง 0.416-0.804 โดย มีค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมทั้งฉบับ (r) อยู่ระหว่าง 0.225-0.653 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายผลการศึกษา: การรับรู้ความสามารถของตนเอง การควบคุมตนเอง การรับรู้ประโยชน์ การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้อุปสรรค มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยทันตกรรมจัดฟันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) เท่ากับ 0.476, 0.403, 0.284,0.229 และ 0.185 ตามลำดับ ปัจจัยทางจิตที่สามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเอง ประกอบด้วย ปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถตนเอง และการควบคุมตนเอง ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ทำนาย (Beta) เท่ากับ 0.629 และ0.294 ตามลำดับ โดยสามารถทำนายได้ ร้อยละ 24.7สรุป: ผู้ป่วยทันตกรรมจัดฟันที่มีระดับของการรับรู้ความสามารถของตนเอง การควบคุมตนเอง การรับรู้ประโยชน์ การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้อุปสรรคสูงขึ้น จะมีพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงขึ้นด้วยคำสำคัญ: ปัจจัยทางจิตสังคม พฤติกรรมการดูแลตนเอง ผู้ป่วย ทันตกรรมจัดฟัน Psychosocial Factors Related to Self-care Behavior among Orthodontic Patients Treated in BangkokAbstractObjective: To be studying psychosocial factors related to self-care behaviors among orthodontic patients in BangkokMaterial and Methods: This correlated research collected data from 300 patients by purposive sampling, which is a fixed orthodontic more than 6 months treatment in Bangkok. Using a self-care behavior questionnaire about cooperative treatment behavior. Psychosocial questionnaire about diet selection behavior, oral hygiene care behavior, orthodontics knowledge, attitude to orthodontics, perceived benefits, perceived barriers, self-efficacy, self-control, treatment outcome expectancy, and social support. Cronbach’s Alpha between 0.416-0.804, the correlation between individual scores and total scores (r) between 0.225-0.653. The Pearson’s correlation coefficient and simple linear regression were performed to analyze data.Results: self-efficacy, self-control, perceived benefits, social support, and perceived barriers significantly correlated with self-care behaviors among orthodontic patients (P < 0.01) with r-value 0.476, 0.403, 0.284, 0.229, and 0.185 respectively. Moreover, self-efficacy and self-control was significantly correlated with Beta was 0.629 and 0.294, respectively which the results can predict as 24.7 percent.Conclusions: orthodontics patients who have higher levels of self-efficacy, self-control, perceived benefits, social support, and perceived barriers will have higher self-care behaviors as well.Keywords: Psychosocial Factors, Self-care Behavior, Patients, Orthodontic ว.ทันต.มศว ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2563 หน้า 38-50.SWU Dent J. 2020;13(2):38-50.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2020-09-29
How to Cite
1.
แก้วสุทธา ณ, รัตน์เจริญฤทธิ์ โ, หนูแก้ว ก, สินเจริญรุ่ง ณ. ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของ ผู้ป่วยทันตกรรมจัดฟันที่มารับการรักษาในกรุงเทพมหานคร. SWU Dent J. [Internet]. 2020 Sep. 29 [cited 2024 Dec. 22];13(2):38-50. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/12991
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น